กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ..โครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน พื้นที่ ม.2ม.4 ม.7 และ ม.8 ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง
รหัสโครงการ 66-L3329-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 8,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทนงศักดิ์ ศรีรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever-DHF) เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยเริ่มระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2501 ในกรุงเทพมหานคร โดยมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นทั่วทุกพื้นที่ ของประเทศไทย จนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน (เตือนใจ ลับโกษา 2559) ซึ่งสถานการณ์การระบาดในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี อย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการระบาดของโรคในชุมชนนั้นสามารถวิเคราะห์ได้จากค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย กล่าวคือ ชุมชนที่พบดัชนีค่าลูกน้ำยุงลายสูง แสดงถึง ค่าความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้ และประชาชนในพื้นที่ชุมชนมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไข้เลือดออก การแพร่ของโรคอยู่ในระดับสูง ทำให้ในชุมชนมีโอกาสเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง การเกิดโรคไข้เลือดออก นอกจากจะส่งผลต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนแล้ว ยังส่งผลต่อการรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายของรัฐ ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเนื่องจากที่ผ่านมาการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นการดำเนินงานของ หน่วยงานสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถลดระดับความชุกชุมของยุงลายได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และ แนวโน้มของสถานการณ์ของโรคกลับเพิ่มมากขึ้น
สำหรับพื้นที่เทศบาลตำบลควนเสาธง ในพื้นที่ ม.2 ม.4 ม.7 และ ม.8 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 3,995 ราย 1,025 ครัวเรือน สถานที่บริการสาธารณสุขมีจำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลตะโหมด มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 155 คน มีอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 45 ราย ลักษณะพื้นที่เป็นออกเป็น 4 หมู่บ้านคือหมู่ที่ 2 หมู่ 4 หมู่ 7 หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งไทรงามโดยแบ่งออกเป็น 4 ชุมชนหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนเขตชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกาศอาชีพทำสวนยางพารา รองลงมาอาชีพรับจ้าง พื้นที่พบอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกสูง ส่วนใหญ่พื้นเป็นพื้นที่เขตชุมชนชนบท สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการระบาดอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่พื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้าน เป็นชุมชนชนบท จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2566 พบผู้ป่วยในพื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านมาบ จำนวน 3 ราย ซึ่งกรณีพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ไม่สามารถลงควบคุมโรคได้ในทุกหลังคาเรือน ที่ห่างจากรัศมีจากบ้านผู้ป่วย 100 เมตร เพราะฉะนั้นการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไม่ทั่วถึงในทุกพื้นที่ จึงส่งผลให้การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตชุมชนเมืองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลตะโหมด จึงเล็งเห็นปัญหาของการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงได้จัดโครงการการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน พื้นที่ ม.2 ม.4 ม.7 และ ม.8 ตำบลแม่ขรีอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่เหมาะสมในชุมชนเมือง ข้อที่2 เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ข้อที่ 3 เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 1.ศึกษาสถานการณ์และบริบทในพื้นที่ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ผ่านมา 1.1 ความรู้เรื่องไข้เลือดออก 1.2 การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค 1.3 ความชุกของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย 1.4 อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา 1.5 ศึกษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ 2.การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 3.มาตรการของชุมชน 4.การมีผู้รับผิดชอบชัดเจน 5. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 6. ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการ A-I-C 1.นำข้อมูลที่ได้เข้าสู่กระบวนการ A-I-C ในชุมชน 2.ได้รูปแบบฉบับร่าง 3.ประเมินผลรูปแบบ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และนำไปใช้ในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. วิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่เหมาะสมในชุมชน 2. พัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง 3. ประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 10:37 น.