กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ..โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาเขตเทศบาลตำบลควนเสาธง ประจำปี 2566..
รหัสโครงการ 66-L3329-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 12,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรียะมิตต์ บุญคง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ทำให้ชีวิตของคนไทยมีความเสี่ยงต่อภัยทางสุขภาพ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค  และภัยอันตรายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปจำนวนไม่น้อยที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์และสภาพปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียน วัยรุ่น จากข้อมูลรายงานของระบบ HDC กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี 2563 – 2565 สถานการณ์สุขภาพเด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี เขตสุขภาพที่ 12  พบร้อยละเด็กวัยเรียนรูปร่างสูงดีสมส่วนร้อยละ 58.41 52.36 และ 48.17 ตามลำดับ ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายของกรมอนามัย คือไม่น้อยกว่าร้อยละ 66 เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเด็กวัยเรียนในเขตสุขภาพที่ 12 มีรูปร่างสูงดีสมส่วนยังต่ำ อันเนื่องจากปัญหาสำคัญคือ    ภาวะทุพโภชนาการ ทั้งขาดและเกิน และปัญหาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมตามวัย โดยพบเด็กวัยเรียนมีภาวะเตี้ยในปี 2563 – 2565  ร้อยละ 8.96 14.9 และ 16.79 มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 12.52 10.62 และ 13.74 ร้อยละของเด็กวัยเรียนมีภาวะผอม 5.65 4.28 และ 5.65 ตามลำดับ
    สถานการณ์สุขภาพเด็กวัยเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565    จากข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในระบบ HDC ภาคเรียนที่ 1 (เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565) พบว่าเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง จำนวนทั้งหมด 3,519 คน เด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 52.94 ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 15.12 เตี้ย ร้อยละ 9.09 และผอม ร้อยละ 6.65 เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี มีส่วนสูงเฉลี่ย เพศชาย 149.33 เซนติเมตร เพศหญิง 151.31 เซนติเมตร  ซึ่งปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมตามวัย เลือกรับประทานอาหารตามความชอบเป็นหลัก โดยเฉพาะการบริโภคอาหารจานด่วน อาหารที่ปรุงประกอบด้วยวิธีการทอด ขนมกรุบกรอบ การบริโภคผักและผลไม้น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ    และการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน รวมไปถึงขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของกรมอนามัย ในปีงบประมาณ 2566  กำหนดเป้าหมายให้เด็กวัยเรียนอายุ 6 – 14 ปี ทั่วประเทศมีภาวะสูงดีสมส่วน ร้อยละ 57 สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 กำหนดเป้าหมาย    เด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน ร้อยละ 57 ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ 10 ภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ 5 และภาวะผอม ไม่เกินร้อยละ 5  ซึ่งสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนในพื้นที่โรงพยาบาลตะโหมดข้างต้น ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
    ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการเชิงรุกในการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพ เด็กวัยเรียนวัยรุ่นให้สอดรับ    กับวิถีชีวิตใหม่ของสังคม (New Normal) โดยการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ โดยการปฏิบัติจะส่งผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพ ไปสู่ผลลัพธ์ให้เด็กวัยเรียน สูงดีสมส่วน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และมีพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การตัดสินใจ และมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าว กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนด้านพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ในสถานศึกษาเขตเทศบาลตำบลควนเสาธง ประจำปี 2566 ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติที่ถูกต้อง ในระดับดีขึ้นไป
  • แกนนำนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
2 เพื่อสร้างแกนนำสุขบัญญัติที่มีศักยภาพ สามารถชี้นำ เพื่อน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน ด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดี และสามารถให้ความรู้เรื่องสุขภาพได้

แกนนำนักเรียนมีการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ และสามารถเผยแพร่ความรู้พฤติกรรมสุขบัญญัติสู่เพื่อน ครอบครัว และคนในชุมชนได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
  2. แกนนำนักเรียนมีการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ และสามารถเผยแพร่ความรู้พฤติกรรมสุขบัญญัติสู่เพื่อน ครอบครัว และคนในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 10:45 น.