กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

..โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและส่งเสริมความรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่โดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลควนเสาธง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ..โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและส่งเสริมความรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่โดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลควนเสาธง
รหัสโครงการ 66-L3329-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 8,476.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสรยา มีหมื่นพล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีความเสี่ยงและเป็นประเด็นที่ท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) และโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพของตนเองได้ ประชาชนไทย เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเกิดจากการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่าคนวัยทำงานอายุ 15 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมกินผักผลไม้ต่อวันเพียงพอตามข้อแนะนำเพียงร้อยละ 25.9
มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติเพียงร้อยละ 36.43 มีภาวะอ้วน ร้อยละ 37.5 พบโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 24.7 โรคเบาหวาน ร้อยละ 8.9 ภาวะไขมันในเลือดสูงร้อยละ 16.4 และจากการสำรวจระดับกิจกรรมทางกายในประชากรไทย โดยศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) พบว่า ในปี 2563 ประชากรวัยทำงาน (อายุ 18-59 ปี) มีกิจกรรมทางกายเพียงพอลดลงเหลือร้อยละ 54.7 จากที่ปี 2562 มีกิจกรรมทางกายเพียงพอร้อยละ 74.6 และจากการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมประชาชนไทยวัยทำงาน (อายุ 15 - 59 ปี) มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส อยู่ในระดับไม่ดีร้อยละ 49 จึงอาจส่งผลให้ระดับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส ของประชาชนไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่ดีร้อยละ 56.7 คือ พฤติกรรมบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการจัดการความเครียด
    จากผลการคัดกรองสุขภาพของประชาชนในเขตโรงพยาบาลตะโหมด ปี 2565 พบว่า มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 821 ราย และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 661 ราย (ระบบ HDC กระทรวงสาธารณสุข ,2565) จากผลการศึกษาประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า ประชาชนวัยทำงานส่วนใหญ่ สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ และการเข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพ พบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และ 4.16 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก สำหรับการประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ พบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 และ 3.93 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดี และการประเมินพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน พบว่า ประชาชนวัยทำงานส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการจัดการความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา พบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16, 4.47 และ 6.29 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก สำหรับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 พบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดี พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย พบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 และ 3.28 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับพอใช้ (โสรยา มีหมื่นพล ,2565)   ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม จึงต้องยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กลุ่มคนดังกล่าว สามารถเข้าถึงเข้าใจข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ และตัดสินใจจัดการสุขภาพตนเองให้มีสุขภาพดีได้ นำไปสู่การสร้างผลผลิต สร้างรายได้ครัวเรือน สร้างสังคมแห่งความสุข เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ตอบสนองต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพ และให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลควนเสาธง ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและส่งเสริมความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่ โดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลควนเสาธง สำหรับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลควนเสาธง ปีงบประมาณ 2566 ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมศักยภาพแกนนำดีวิถีใหม่ในชุมชนโดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

2 เพื่อส่งเสริมความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่เหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  2. กลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่เหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 10:52 น.