กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัยจากโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
รหัสโครงการ 66-L3329-2-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งเหรียง
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารึก นวนดำ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตการที่เด็กจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเด็กจะต้องมีพัฒนาการที่สมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา จึงมีความจำเป็น  ที่ เด็กต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและต่อเนื่องเพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ต่อไป   จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยตนเองจึงต้องนำบุตรหลานไปฝากเลี้ยงที่ศูนย์เด็กเล็กเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อมีเด็กเจ็บป่วยจะแพร่เชื้อโรคสู่เด็กอื่นได้ง่าย เพราะเด็กเล็กยังมีภูมิคุ้มกันต่ำจึงมีโอกาสเจ็บป่วยง่าย ดังนั้น ครู ผู้ปกครอง และ ชุมชนจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่เป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่จะอยู่อาศัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกันและอยู่ร่วมได้อย่างมีความสุขสะอาดถูกสุขอนามัยมีความปลอดภัย
  จากความสำคัญดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งเหรียงจึงได้จัดทำ ส่งเสริมสุขภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัยจากโรคติดต่อและไม่ติดต่อ โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งเหรียง ซึ่งในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีจำนวน 42 คน ได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย สังคม อารมณ์จิตใจ และ สติปัญญาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และเด็ก ควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเองและดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมอันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมที่ดีทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโต  เป็นผู้ใหญ่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ   5.1. เขียนและเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  5.2. ประชุมชี้แจงให้คณะครูและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงนโยบายการดำเนินงาน
  5.3. การจัดเตรียมเอกสาร
  5.4. การดำเนินงานตามแผนกิจกรรมโครงการ
      5.4.1 กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย       5.4.2 กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลด้านสุขภาพอนามัย       5.4.3 กิจกรรมส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยและการควบคุมโรคติดต่อของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก           5.4.3.1 ปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ สะอาด ปลอดภัย           5.4.3.2 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ หรือ จัดทำสื่อส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยและการควบคุม
                โรคติดต่อ       5.4.4.กิจกรรมส่งเสริมนักเรียนมีสุขนิสัยที่ดี           5.4.1 การดูแลรักษาร่างกายและเครื่องใช้ให้สะอาดปลอดโรค                 5.4.1.1 ส่งเสริมการอาบน้ำ                 5.4.1.2 ส่งเสริมการแปรงฟัน                 5.4.1.3 ส่งเสริมการล้างมือ           5.4.2 การออกกำลังกาย           5.4.3 การรับประทานอาหารดีมีประโยชน์           5.4.4 การสำนึกต่อส่วนรวมและสร้างสรรค์สังคมเพื่อสุขภาวะที่ดี       5.4.5.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูและผู้ปกครองส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีของนักเรียนปฐมวัย
  5.5. ประเมินผล   5.6. สรุปรายงานผลกิจกรรมโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 นักเรียนปฐมวัยทุกคน มีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
  9.2 นักเรียนปฐมวัยทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพอนามัยและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง   9.3 ครู นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งผลให้เป็นศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ
  9.4 นักเรียนปฐมวัยมีสุขนิสัยที่ดี มีความรับผิดชอบส่งผลต่อสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ และพัฒนาการสมวัย   9.5 การมีส่วนร่วมของครู และผู้ปกครองทุกคนส่งผลให้นักเรียนปฐมวัยมีสุขภาพอนามัยที่ดีอย่างต่อเนื่อง และเกิดความรักและสามัคคี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 11:18 น.