กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนบ้านยาบี
รหัสโครงการ 66-L3070-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านยาบี
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฉันทนา โชติพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 217 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพื่อให้นักเรียนมีสุขนิสัยรักในการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ มีความมั่นใจกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม    มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น จนพัฒนาฝึกฝนซึมซับจนเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน และสามารถสร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการได้ตามวัยของนักเรียน การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
โรงเรียนบ้านยาบี ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนจากเบื้องต้นสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยได้ถูกต้อง และได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพได้ถูกต้อง การป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพอนามัยตัวเอง

ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นประถม 1-6 ปี มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพอนามัยตัวเอง

70.00
2 เพื่อสร้างสุขนิสัยให้นักเรียนแปรงฟันที่โรงเรียนวันละ 2 ครั้ง

ร้อยละ 90 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้รับการแปรงที่โรงเรียนวันละ 2 ครั้ง

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 585 30,000.00 3 30,000.00
31 ม.ค. 66 3.กิจกรรมส่งเสริมทักษะการกำจัดเหาอย่างถูกต้อง 217 2,460.00 2,460.00
6 ก.พ. 66 - 29 ก.ย. 66 1.อบรมให้ความรู้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-6 เรื่องสุขภาพอนามัยในวัยเรียน 151 6,830.00 6,830.00
6 ก.พ. 66 - 29 ก.ย. 66 2.กิจกรรมส่งเสริมทักษะการแปรงฟันอย่างถูกต้องตามช่วงวัย 217 20,710.00 20,710.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 แปรงฟันที่โรงเรียนวันละ 2 ครั้ง ทุกวัน
  2. เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 รู้จักวิธีกำจัดเหา
  3. เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพอนามัยตัวเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 13:08 น.