กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 2-5 ขวบ และผู้ปกครอง โดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน และฟุตบอล
รหัสโครงการ 66-L5177-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแค
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 เมษายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 19,355.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเฝาสี่ย๊ะ หลีขาหรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแค
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 4 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของจำนวนเด็กที่รู้จักชนิดของกีฬาพื้นบ้าน และฟุตบอล
50.00
2 ร้อยละของเด็ก และผู้ปกครองที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การละเล่นพื้นบ้าน และฟุตบอล เป็นกิจกรรมทางกายชนิดหนึ่งประเภทเกม ที่สามารถส่งเสริมในด้านร่างกายให้มีร่างกายที่แข็งแรง สร้างจิตใจให้มีความผ่อนคลาย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และยังรู้จักแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที การละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ยอมรับร่วมกันในสังคมว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งจึงมีคุณค่าและมีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมพฤติกรรม
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแคจึงเล็งเห็นความสำคัญ จึงจัดโครงการ ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในเด็กปฐมวัย อายุ 2 - 5 ขวบ และผู้ปกครอง โดยใช้การละเล่นพื้นฐานขึ้นในครั้งนี้ เพื่อให้เด็กได้รู้จักกีฬาพื้้นบ้านของไทย และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกายอารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เหมาะสมตามวัย ร่วมไปการออกกำลังกายของผู้ปกครองที่เพียงพออีกด้วย จึงมีคุณค่าและมีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมพฤติกรรมโดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ร่วมไปถึงความสามัคคืของผู้ปกครอง ทั้งเป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์ทางสังคมให้กับเด็ก ทำให้เด็ก และผู้ปกครองประสบความสำเร็จในการเล่นจนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออก รู้จักปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังช่วยให้เรียนรู้ด้วยการรอคอย การช่วยเหลือ การแบ่งปัน และการเป็นผู้นำ ผู้ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นผลที่จะเกิดโดยตรงจากการละเล่นส่งผลต่อสุขภาพจิตและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยนี้ ที่ต้องเสริมสร้างพัฒนาการให้พร้อมในการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มร้อยละจำนวนเด็กที่รู้จักชนิดของกีฬาพื้นบ้าน และฟุตบอล

ร้อยละจำนวนเด็กที่รู้จักชนิดของกีฬาพื้นบ้านเพิ่มขึ้น และฟุตบอล

50.00 90.00
2 พื่อเพิ่มร้อยละของเด็ก และผู้ปกครองที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

ร้อยละของเด็ก และผู้ปกครองที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)เพิ่มขึ้น

40.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ก.พ. 66 อมรมชี้แจงโครงการเชิงปฏิบัติการ ให้กับเด็ก และผู้ปกครอง 0 5,385.00 5,385.00
22 ก.พ. 66 ชี้แจง พร้อมสาธิตเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านแต่ละชนิด 0 8,550.00 8,550.00
22 มี.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 เด็ก และผู้ปกครองเล่นกีฬาพื้นบ้าน 5 ชนิด คือ ชักเย่อ ปิดตาตีปี๊บ เดินกะลา ม้าก้านกล้วย วิ่งเปรี้ยว และฟุตบอล 0 5,420.00 5,940.00
รวม 0 19,355.00 3 19,875.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กได้รู้จักชนิดของการละเล่นพื้นบ้าน
  2. เด็ก และผู้ปกครองมีกิจกรรมทางกายได้อย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 60 นาที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 13:46 น.