กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุสำหรับเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ลุโบะบายะ
รหัสโครงการ 66-L2500-03-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบายะ
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 22,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัฌจิมา ลาเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.422,101.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 97 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศ เด็กมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการดูแลจาครอบครัวและสังคม การวางรากฐานที่ดีให้กับเด็กจึงเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ เด็กช่วงปฐมวัย (0 – 5 ปี) เป็นระยะที่สำคัญของชีวิต เนื่องจากเป็นวัยที่มีพัฒนาการการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดามารดาและผู้คนรอบข้าง รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กด้วย ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะส่งผลต่อการพัฒนาจิตใจและความคิดของเด็ก หล่อหลอมให้เกิดเป็นบุคลิกภาพและอุปนิสัยของเด็กเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ครอบครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรวมถึงผู้เลี้ยงดู จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเด็กในช่วงวัยนี้ และจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปโครงสร้างครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นความจำเป็นในการประกอบอาชีพ การออกไปทำงานนอกบ้านของบิดามารดา เนื่องจากภาระภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทำให้เด็กขาดการอบรมเลี้ยงดู จากผู้ดูแล โดยเฉพาะช่วง 5 ปี แรก จากข้อมูลประชากรจากกรมปกครองประทรวงมหาดไทยและข้อมูลสถิติการศึกษา สำนักงานปลัดกรทรวงศึกษาธิการในแต่ละปี พบว่ากลุ่มเด็ก 0 – 1 ปี ร้อยละ 30 ได้รับการดูแลจากคนในครอบครัว ส่วนเด็กอายุ 2 – 5 ปี ร้อยละ 60 เริ่มเข้าสู่สถานรับเลี้ยงเด็กหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กอายุ 2 ปี    มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ได้รับการเลี้ยงดูอยู่ที่บ้าน แสดงให้เห็นว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นทางเลือกหนึ่งในการทำหน้าที่แทนบิดามารดา จากสถานการณ์ดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงต้องยกระดับมาตรฐานและคุณภาพในการเลี้ยงดูส่งเสริมและเฝ้าระวังเด็กในช่วงวัยนี้ให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมวัย และตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งซักซ้อมแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น เด็กจมน้ำ เด็กติดรถ เหตุไฟไหม้และอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยขอให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบรรจุเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ข้างต้นไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก จัดการสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ปลอดภัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบายะ เห็นถึงความสำคัญของการดูแลเด็กปฐมวัย จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยในเรื่องของความปลอดภัย รวมถึงการจัดประสบการณ์ให้เด็กในวัยนี้ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุสำหรับเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบายะ เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เด็กปฐมวัยได้รับความปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นมา จึงเห็นว่าควรให้ความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุในเรื่องต่างๆ  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัยที่มารับบริหารที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบายะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อให้เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ การเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยการสวมหมวกกันนิรภัย การช่วยเหลือเด็กติดในรถ การช่วยเหลือหากเกิดไฟไหม้ 2) เพื่อให้เด็กปฐมวัยรู้จักการเอาตัวรอด ช่วยเหลือตนเองได้ กรณีอยู่ใกล้แหล่งนำที่เสี่ยง การโดยสารรถจักรยานยนต์บนท้องถนน กรณีถูกลืมไว้ในรถยนต์ กรณีไฟไหม้ 3) เพื่อช่วยลดเด็กปฐมวัยเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียชีวิต 4) เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) จัดประชุมครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 2) เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3) ที่ประชุมร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม ซึ่งได้กำหนดกิจกรรม ดังนี้ - จัดอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ การเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ การเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยการสวมหมวกนิรภัย การช่วยเหลือเด็ก  ติดในรถ การช่วยเหลือหากเกิดไฟไหม้ - จัดฐานกิจกรรมการป้องกันและช่วยเหลือเด็กจมน้ำ - จัดฐานกิจกรรมป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยการสวมหมวกนิรภัย - จัดฐานกิจกรรมป้องกันและช่วยเหลือ “หากเด็กติดอยู่ในรถ” - จัดฐานกิจกรรมช่วยเหลือ “กรณีหากเกิดไฟไหม้”
4) คณะทำงานร่วมกันจัดทำโครงการ ตามแนวทางที่กำหนดไว้และดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 5) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพร้อมทั้งรายงานหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง ครู เด็กปฐมวัย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ การเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ การเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยการสวมหมวกนิรภัย การช่วยเหลือเด็ก  ติดในรถ การช่วยเหลือหากเกิดไฟไหม้
  2. เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  3. เด็กปฐมวัยมีทักษะในการป้องกันตัวเอง รู้จักการเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุได้
  4. ลดเด็กปฐมวัยเกิดและการสูญเสียชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 15:04 น.