กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้หญิงตั้งครรภ์และเตรียมการเป็นแม่ที่ดีปีงบประมาณ2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ยะต๊ะ
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 24,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.426,101.407place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในกลุ่มแม่และเด็ก เป็นเป้าหมายหนึ่งที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญ เป็นอย่างมาก เนื่องจากรากฐานในการซึ่งจะได้มาในทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคตและทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดงานอนามัยแม่และเป็นยุทธศาสตร์หนึ่ง เพื่อลดอัตราการตายของทารกและมารดา โดยกำหนดเกณฑ์จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน12 สัปดาห์เป้าหมายร้อยละ 60 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 70 จำนวนทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม เป้าหมาย ไม่เกิน ร้อยละ 7 และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดเป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ10 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง และภาวะซีดเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในหญิงตั้งครรภ์จากผลการดำเนินงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะต๊ะ ในปีพ.ศ.2565 ตั้งแต่เดือนตุลาคม2564 - กันยายน2565 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 82.09 และ 77.77 ตามลำดับ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด (Hct. ต่ำกว่า 33%) ที่มารับการตรวจ Hct. ครั้งที่1(เจาะครั้งแรก) ซีดจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.41 Hct. ครั้งที่ 2 ช่วงเกณฑ์อายุครรภ์ 28 – 32 สัปดาห์ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 8.45 Hct. ครั้งที่3 (เจาะก่อนคลอด) จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22 ผลกระทบของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดจะส่งผลทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และต่อทารกด้วย คือทารกที่เกิดมาอาจจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม ส่วนหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด เกิดภาวะช็อค/เสียชีวิตขณะคลอดได้ในกรณีที่มีอาการตกเลือด จากการดำเนินงานที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จพบว่าหญิงตั้งครรภ์ยังขาดความตระหนัก ความรู้ และประโยชน์เกี่ยวกับการดูแลในขณะตั้งครรภ์ ประกอบกับแกนนำในชุมชนยังขาดความตระหนัก ความรู้ และแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะต๊ะ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้เห็นความสำคัญด้านงานอนามัยแม่และเด็กและพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลในพื้นที่เช่นแกนนำในชุมชน เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในแก้ไขปัญหาด้านงานอนามัยแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องต่อไปและการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยการแนะนำในเรื่องการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องจะช่วยลดภาวะเสี่ยงต่างๆในหญิงตั้งครรภ์ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้ไปฝากครรภ์เร็วที่สุด (ท้องปุ๊บ ฝากปั๊ป)

 

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีความตระหนักถึงความสำคัญของโรคภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพให้ดีขึ้น ทำให้ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ลดลง กระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ เพื่อนำความรู้ในการอบรมไป ปฏิบัติได้ถูกต้องและเหมาะสม
  2. แกนนำสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักในงานอนามัยแม่และเด็ก
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
  4. หญิงตั้งครรภ์คลอดอย่างปลอดภัย และลูกเกิดรอด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2566 14:25 น.