กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รหัสโครงการ 66-L-4137-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิลวดี มูนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 13,820.00
รวมงบประมาณ 13,820.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระบบการจัดการด้านสุขภาพ หมายถึง การที่ชุมชนมีกระบวนการร่วมกันคิด วิเคราะห์ถึงสภาพความเป็นอยู่และร่วมกันสร้างกิจกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพ  ของหมู่บ้านที่จะมีระบบการจัดการสุขภาพที่สมบูรณ์และดำเนินไปสู่ความสำเร็จได้ นั้นมีหลายๆ ปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  การจะทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกและแสดงบทบาทในการดูแลตนเองและพัฒนาสุขภาพของคน ในครอบครัวและชุมชนได้นั้น สามารถทำได้ด้วยการสร้างกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และ เสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ภายใต้การตัดสินใจและความต้องการของประชาชนและชุมชนตามศักยภาพของท้องถิ่น โดยประชาชนและชุมชนมีอำนาจเต็มที่ คนในชุมชนรวมตัวกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมใจกันบริหารจัดการคน ทุนและความรู้ของชุมชน เพื่อให้เกิดโครงการของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนในชุมชน ที่เน้นการพัฒนาคนในชุมชนให้เข้าใจปัญหาของตนและชุมชน คิดเป็น มีทักษะวางแผนในการแก้ปัญหาเองได้ มีอิสระในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาชุมชนร่วมกัน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เชื่อมประสานและกระตุ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคีเครือข่ายสนับสนุนทรัพยากร เพื่อสื่อสารให้ประชาชนผู้สนใจหันมามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ด้วยการเป็นแกนนำประจำครอบครัว ผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนตลอดจนสภาวะแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพดี ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ใช้เทคนิคและกระบวนการสร้างความครอบคลุมประชากรจำนวนมาก ด้วยยุทธศาสตร์ใช้ระบบผู้นำการ เปลี่ยนแปลง (อสม. หรือเครือข่ายสร้างสุขภาพ ) โดยที่ทุกส่วนก็ต้องร่วมมือร่วมใจที่จะสร้างชุมชมให้แข็งแรง  ภายใต้ระบบการจัดการที่ดี เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง         อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นตัวแทนของคนในคุ้มของหมู่บ้าน โดย 1 คนรับผิดชอบ    1 – 15 ครัวเรือน ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ รวมถึงมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชนได้ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะ การจัดการระบบสุขภาพในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สุขภาพของคนในชุมชน เริ่มต้นจากการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับทัศนคติและบทบาท สร้างจิตสำนึก ศรัทธา ความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างและพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพ ในการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเอง อย่างเป็นที่ยอมรับของสังคม ด้วยการสร้างความเป็นผู้นำที่มีผลงานสูง สร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติ และ ให้ความสำคัญต่อกระบวนการเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการระบบ สุขภาพภาคประชาชน  ผ่านตามกระบวนการการเรียนรู้ต่างๆอย่างเป็นระบบ    ตามโครงสร้างของชุมชน ทำให้เกิดเวทีประชาคมสุขภาพของชุมชน และศูนย์การเรียนรู้ สังเคราะห์บทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพชุมชน จากประสบการณ์จริง  สร้างกิจกรรมให้เกิดความเคยชิน ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ถูกต้อง เกิดการดูแลสุขภาพโดยชุม ชน เพื่อชุมชนของตนเอง  กลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีเข้าใจในความสำคัญ ในบทบาทหน้าที่และความรับผิด ชอบของตน มีบทบาทในการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของคนในครัวเรือน รวมทั้งเป็นต้นแบบการดูแลสุขภาพของครอบครัว ประสานระหว่างบุคคลในครอบครัวกับชุมชน ในการร่วมกิจกรรมของชุมชน และปฏิบัติต่อสภาวะแวดล้อมอย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

ร้อยละ 100 อสม.มีทักษะการดำเนินงานสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.00
2 เพื่อให้ อสม. สร้างกระแสการดูแลสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค เปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน

ร้อยละ 90 อสม.ได้ดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ อสม. สร้างกระแสการดูแลสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค เปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

19 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดประชุมวิชาการ อสม.สร้างสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม แนวทางการคัด กรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งความรู้เกี่ยวกับสุขภาพด้านอื่นๆ โดย อสม. 0.00 6,840.00 -
19 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดประชุมวิชาการ อสม.สร้างสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม แนวทางการคัด กรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งความรู้เกี่ยวกับสุขภาพด้านอื่นๆ โดย อสม. 37.00 6,980.00 -
19 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดประชุมวิชาการ อสม.สร้างสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม แนวทางการคัด กรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งความรู้เกี่ยวกับสุขภาพด้านอื่นๆ โดย อสม. 36.00 6,840.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะด้านสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2566 10:48 น.