กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสุขภาพ หาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน
รหัสโครงการ 66-L2496-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมัน กาเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566 12,720.00
รวมงบประมาณ 12,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังของระบบไร้ท่อที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งสาเหตุสำคัญเนื่องมาจาก การมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมและระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย การสนับสนุนเพื่อป้องกันการเกิดโรคใหม่นั้นจึงมีความสำคัญ อนึ่งพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนอกจากการทำงานระบบต่างๆภายในร่างกายที่ทำงานอย่างสมบูรณ์แล้วนั้น จำเป็นต้องมีการควบคุมปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย กล่าวคือ พฤติกรรมด้านการควบคุมอาหาร ด้านการออกกำลังกาย รวมทั้งการจัดการกับความเครียดเป็นพฤติกรรมที่ควรส่งเสริมในผู้ที่มีความเสี่ยง และผู้ป่วยมีกิจกรรรมคลายเครียด ซึ่งจะส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และมีการปรับตัวด้านอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องกล่าวคือ การควบคุมอาหารให้เหมาะสมทั้งปริมาณ พลังงาน ชนิดและสัดส่วนของอาหาร ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน ผู้ที่มีการปฏิบัติตัวดีในการควบคุมอาหาร สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ ๓๑.๘ ส่วนในผู้ที่ปฏิบัติตัวไม่ดี จะมีการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดเพียงร้อยละ ๑๗.๑ การออกกำลังกายที่เหมาะสม และสม่ำเสมอ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังช่วยลดระดับน้ำตาลที่เกาะเม็ดเลือดแดง ช่วยลดน้ำหนักในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ ๒ ที่อ้วน ทำให้ความต้องการอินซูลินลดลงและเป็นผลให้ลดขนาดการใช้ยาลงได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส แนวโน้มของโรคไม่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่าการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดเชื้อ ร้อยละ ๕๘.๕ ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก และพบผู้ป่วยโรคไม่ติดเชื้อร้อยละ ๔๕.๙ ของผู้ป่วยทั้งหมด โรคไม่ติดเชื้อที่คาดว่าจะเป็นปัญหาในอนาคต ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคซึมเศร้า การบาดเจ็บจากการจราจร โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน สำหรับในประเทศไทยพบว่า อัตราการตายด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจขาดเลือด ของประชากรไทย โดยโรคเบาหวานเท่ากับ ๗.๙๘ –๑๑.๐๘ ต่อแสนประชากร อัตราตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ ๓.๓ – ๕.๑ ต่อแสนประชากร และอัตราตายด้วยโรคหัวใจขาดเลือด ๓.๖ – ๑๔.๔ ต่อแสนประชากร จากสถิติแนวโน้มการป่วยด้วยโรคเบาหวานสูงในตำบลจอเบาะ พบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานนับวันจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่ก็สามารถที่จะควบคุมและป้องกันการเกิดโรคใหม่ได้ หากกลุ่มเสี่ยงนั้นมีการดูแลตนเองที่ดีอย่างต่อเนื่องในด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การดูแลสุขภาพอนามัยของร่างกาย และการจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสม ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบและแตก โรคไตวาย และตาบอด เป็นปัญหาสุขภาพที่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติ ทำให้ไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสม จะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งอาจเกิด เสียชีวิตฉับพลัน หรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้  โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องสูญเสียการมองเห็น ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงตาบอดมากกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ ๒๕ จึงเป็นสาเหตุอันดับ ๒ ที่ทำให้คนไทยตาบอดรอง จากต้อกระจก
    จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้หน่วยงานสาธารณสุขทุกพื้นที่ ดำเนินการตรวจสุขภาพเชิงรุก โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ ดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ เพื่อจำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มสงสัยผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เพื่อจะได้วางกลยุทธ์เชิงรุกในการดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนได้รับทราบภาวะสุขภาพของตนเอง  และลดความเสี่ยง  รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้มีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร และเพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อ ในการลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วย ลดลง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนทางตา-ไต-เท้า ของผู้ป่วยโรคเบาหวานดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการตรวจสุขภาพ หาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวานขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการตรวจและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพ เช่น เจาะเลือด ตรวจวัดสายตา และคลื่นหัวใจ

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการตรวจและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพ ร้อยละ ๑๐๐ -ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจจอประสาทตา ตรวจภาวะการทำงานของไต และตรวจเท้า  ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุน(1 ต.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 12,720.00                        
รวม 12,720.00
1 กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 12,720.00 1 12,720.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้ 100 12,720.00 12,720.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจจอประสาทตา ตรวจภาวะการทำงานของไต และตรวจเท้า
2. ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะ มีความตระหนักในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2566 14:04 น.