กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคอุบัติใหม่
รหัสโครงการ 66-L1496-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ตำบลนาพละ
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 52,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมญา แก้วละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดตรังยังคงน่าเป็นห่วง เพราะเป็นช่วงหน้าฝนซึ่งเป็นฤดูการระบาดของโรค โดยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 407 ราย คิดเป็น 63.28 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย ตำบลนาพละมีผู้ป่วยไข้เลือดออก ในปีพ.ศ.2565 จำนวน 14 ราย จึงจำเป็นต้องช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้โดยด่วน และให้ทราบถึงวิธีการป้องกันตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกอีกด้วย   ในการนี้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตำบลนาพละ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์โรคที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคอุบัติใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรคช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพื่อปลุกกระแสให้ทุกครัวเรือนร่วมทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และเพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออก

อัตราการเจ็บป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง

2 ประชาชนใส่ใจในการรักษาความสะอาดในครัวเรือน

ดัชนีลูกน้ำยุงลาย(Hi,Ci)ลดลงร้อยละ 80

3 ประชาชนรู้วิธีป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ถูกวิธี

ประชาชนมีความรู้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ   1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ   2. จัดประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนว เดียวกัน   3. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคอุบัติใหม่ ในเขตรับผิดชอบ   4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคอุบัติใหม่ ในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย   ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ
  1. กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนี้   1.1 เจ้าหน้าที่ รพ.สต.นาพละ อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่กลุ่ม อสม. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น
    ณ. ทีทำการ อบต.นาพละ   1.2 แจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายและโลชั่นกันยุงแก่ประชาชนทั่วในพื้นที่   1.3 อสม.ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป ร่วมกัน X-ray ในพื้นที่ กำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำความสะอาด     บ้านเรือน เก็บขยะสองข้างทาง ฯลฯ   1.4 กรณีมีผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ลงสอบสวนโรคบ้านผู้ป่วย แจกโลชั่นกันยุง และสเปรย์กำจัดยุงเพื่อฉีดพ่นในบ้านผู้ป่วย   2. กิจกรรมป้องกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการฉีดพ่นหมอกควัน     พ่นหมอกควันรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย เมื่อได้รับแจ้งเหตุโรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพละ โดยเจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการอบรมการพ่นหมอกควัน ครั้งละไม่เกิน 2 คน จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 พ่นทันที่หลังได้รับแจ้งพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก และครั้งที่ 2 พ่น 7 วันหลังจากการพ่นครั้งที่ 1
  ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล   1.อัตราการเจ็บป่วยของโรคไข่เลือดออกลดลง และ ค่าดัชนี ลูกน้ำยุงลาย ( Hi, Ci ) ลดลง ร้อยละ 80 ของหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน หน่วยงานราชการ   2. ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย   3. ประชาชนใส่ใจในการรักษาความสะอาดในครัวเรือน บริเวณบ้าน ชุมชน   4. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างถูกวิธี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเจ็บป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( Hi, Ci ) ลดลง ร้อยละ 80 ของหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน หน่วยงานราชการ       2. ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย       3. ประชาชนใส่ใจในการรักษาความสะอาดในครัวเรือน บริเวณบ้าน ชุมชน       4 .ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 15:47 น.