กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด หวาน มันเค็ม ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
รหัสโครงการ 66-L1496-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน(อสม.) ตำบลนาพละ
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 3,993.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมญา แก้วละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 6 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดภาวะแทรกซ้อนมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น
จากสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ามารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ พบว่าอัตราตายด้วยโรคไตวายเฉียบพลันเป็นอันดับ ๑ จำนวน ๕ คน คิดอัตรา ๑.๔๒ ต่อประชากร 1,000 คน อันดับ ๒ คือโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒ คน คิดอัตรา ๐.๕๖ ต่อประชากร 1,000 คน และข้อมูลจาก HDC พบว่า ในปี 256๕ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดีมีเพียงร้อยละ ๒๐ และ ๓๐.๕๖ ตามลำดับ
ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ เห็นความสำคัญของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด หวาน มันเค็ม ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อสร้างบุคคลต้นแบบที่สมัครใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำร่องเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มป่วยเรื้อรังชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองค้นหาภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดำเนินกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง คนในครอบครัวและในชุมชน เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืน ในการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีการส่งต่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/และโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการติดตามให้คำแนะนำและการเฝ้าระวังพฤติกรรม

ประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/และโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการติดตามให้คำแนะนำและการเฝ้าระวังพฤติกรรม ร้อยละ 100

2 กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/และโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น

กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/และโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น มากกว่าร้อยละ 50

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการ 3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจติดตามกลุ่มป่วยในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย
4. ประชาสัมพันธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและลดภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ 5. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ สื่อสุขศึกษา ต่างๆในการให้ความรู้/คำแนะนำและแบบติดตามกลุ่มเสี่ยง
ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ 1. จัดประชุมให้คำแนะนำให้คำแนะนำการวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ถูกวิธี พร้อมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมอาการแก่กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม 2. กลุ่มป่วยที่สมัครใจปฏิบัติใช้เครื่องมือในการติดตามค่าความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเองพร้อมบันทึกในสมุดบันทึกประจำตัว “บันทึกสุขภาพดี เราร่วมสร้างได้” เป็นเวลา ๓ เดือน 3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ร่วมกับ อสม. ติดตามเยี่ยมบ้าน กระตุ้นพร้อมให้คำแนะนำวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้ควบคุมอาการไม่ได้รายบุคคลตามข้อมูลที่บันทึกในสมุดบันทึกประจำตัว “บันทึกสุขภาพดี เราร่วมสร้างได้” 4. แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและเจ้าหน้าที่รพ.สต.นาพละวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันและให้คำแนะนำรายบุคคลในวันรับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง 5. ประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 1. สรุปผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล
2.  รายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มป่วยที่สมัครใจควบคุมไม่ได้ได้รับการติดตามให้คำแนะนำและการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงตามปัจจัย
เสี่ยงรายบุคคลอย่างถูกต้อง   2. กลุ่มป่วยที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 15:53 น.