กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด หวาน มันเค็ม ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานด้วยวิธีการ 3 อ 2 ส
รหัสโครงการ 66 -L1496 - 02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ตำบลนาพละ
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 3,876.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมญา แก้วละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 6 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข  ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สร้างเครือข่ายความรู้ด้านสุขภาพต่อยอดจากชุมชนเข้าสู่ครัวเรือน เพื่อทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์และจัดการปัจจัยเสี่ยง ภัยสุขภาพสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน  และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน ในปี 25๖๕ เป้าหมายประชากร ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๑,๕๘๙ คน ได้รับการคัดกรอง ๑,๕๕๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๑๑ พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๗ กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๓๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๕๐ พบผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๙๐ และเป้าหมายประชากร ๓๕ ปีขึ้นไปที่คัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน ๑,๗๕๙ คน ได้รับการคัดกรอง ๑,๖๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๕๓ พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน ๗๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๐๕ ผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวานจากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงไม่มี ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ มุ่งหวังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลด หวาน มันเค็ม ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการจำนวนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ที่มาจากกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้การใช้เครื่องมือในการติดตามค่าความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง

กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้การใช้เครื่องมือในการติดตามค่าความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง ร้อยละ 90

2 กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ไม่เป็นกลุ่มป่วยรายใหม่

กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ไม่เป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ มากกว่าร้อยละ 50

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1. โครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการและจัดตั้งคณะกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับตำบล 3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจติดตามกลุ่มป่วยในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย
4. ประชาสัมพันธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงค้นหากลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองพบภาวะเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ 5. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ สื่อสุขศึกษา ต่างๆในการให้ความรู้/คำแนะนำและแบบติดตามกลุ่มเสี่ยง
    ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ 1. จัดประชุมให้คำแนะนำการวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ถูกวิธี พร้อมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม 2. กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจปฏิบัติใช้เครื่องมือในการติดตามค่าความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเองพร้อมบันทึกในสมุดบันทึกประจำตัว “บันทึกสุขภาพดี เราร่วมสร้างได้” เป็นเวลา ๓ เดือน 3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. ติดตามเยี่ยมบ้าน กระตุ้นพร้อมให้คำแนะนำรายบุคคลตามข้อมูลสมุดบันทึกประจำตัว “บันทึกสุขภาพดี เราร่วมสร้างได้” 4. รณรงค์สร้างกระแส แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดปิ่นโตสุขภาพ
5. ประเมินผลการดำเนินงาน     ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 1. สรุปผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. รายงานผลการดำเนินงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้การใช้เครื่องมือในการติดตามค่าความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง
      2. กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจสามารถคุมไม่เป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ในปีงบประมาณ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 16:00 น.