กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองค้นหาภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อายุ 35 ปีขึ้นไป
รหัสโครงการ 66-L1496-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ตำบลนาพละ
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 2,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมญา แก้วละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไข นอกจากโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายความพิการทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงและก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปีได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวานและโรคมะเร็ง เป็นต้น
การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้นโดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยถือว่า สุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคนสำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียดทั้งที่จากการสำรวจและคาดประมาณการจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงพบว่าประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลรักษาโรค โดยนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้คือการตรวจค้นหา คัดกรองสุขภาพของประชาชนและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นตัวแทนของคนในคุ้มของหมู่บ้าน โดย 1 คน จะรับผิดชอบ 1 - 15 ครัวเรือน ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ รวมถึงมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชนได้ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะ การจัดการระบบสุขภาพในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สุขภาพของคนในชุมชน เริ่มต้นจากการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับทัศนคติและบทบาท สร้างจิตสำนึก ศรัทธา ความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างและพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพในการส่งเสริม     ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองค้นหาภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดำเนินกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง คนในครอบครัวและในชุมชน เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืน ในการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีการส่งต่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชุมฟื้นฟูการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะเสี่ยงเบาหวาน-ความดัน

อสม.มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและการคำนวณดัชนีมวลกาย(BMI) ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 100

2 เพื่อเฝ้าระวังประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (ประชากรอายุ 35 – 75 ปี)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง(อายุ 35-75ปี) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

สามารถตรวจคัดกรองพบผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

4 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

ผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อ รพ.ตรัง เพื่อพบแพทย์ ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 3. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วนลงพุงประชากร 35 – 75 ปี ในเขตรับผิดชอบ 4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย
5. ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเสียงตามสาย วิทยุชุมชน ฯลฯ

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ 1. แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโดยให้ อสม. มีส่วนร่วม 2. จัดประชุม อสม. ให้มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด การวัดส่วนสูง น้ำหนักและคำนวณดัชนีมวลกาย 3. ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานฯ โดยให้ อสม. นัดประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อการคัดกรองในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยง พร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ และลงทะเบียน และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง(NCDs)
5. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตรวจยืนยันต่อโรคเรื้อรัง(NCDs) โดยการตรวจหาความดันโลหิต หาระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดรอบเอว
6. บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงในโปรแกรม
7.
ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 1. สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรัง(NCDs) แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หมู่บ้าน/ชุมชน อสม. อบต. ทราบภาระของโรค เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการติดตาม แนะนำการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
2. รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร้อยละ๙๐
  2. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคเรื้อรัง( NCDs)
  3. ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และให้การดูแลรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกเพื่อลดความรุนแรงของโรคและสามารถหายเป็น   ปกติได้ง่าย
  4. ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 16:04 น.