กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ ประจำปีการศึกษา 2566
รหัสโครงการ 66-L8413-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มิถุนายน 2566 - 8 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 27,110.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอฟีอา ประดู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.448,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กในสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ ที่มีปัญหาการเจริญเติบโตไม่ตามเกณฑ์กรมอนามัย ( ผอม/เตี้ย/อ้วน )
56.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี ร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ อาหารช่วยส่งเสริมให้ร่างกายเจริญเติบโต ซอมแซมส่วนที่ซึกหรอของร่างกาย การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คืออาหารที่ดี มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย และมีปริมาณเพียงพอโดยคำนึงถึงคุณค่าของอาหาร ตลอดจนปัญหาสุขภาพ อันเนื่องมาจากการขาดสารอาหาร หากบุคคลใดได้รับอาหารไม่เพียงพอและเหมาะสม จะทำให้สุขภาพร่างกายไม่ดี ทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือ เหตุเนื่องจากความบกพร่องต่างๆจากการกิน การย่อย การดูดซึม ในระยะ 2-3 ปีแรกของชีวิต จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญหาและการเรียนภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด เมื่ออายุ 3ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตถึงร้อยละ80 สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น เนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนัง นอกจากการขาดสารอาหารแล้วการได้รับสารอาหารเกินในรายที่อ้วน ก็ถือเป็นภาวะทุพโภชนาการ เป็นการได้รับอาหารมากเกินความต้องการ พลังงานที่มีมากนั้นไม่ได้ใช้ไป พลังงานส่วนเกินเหล่านั้น ก็จะแปลงไปเป็นคลอเรสเตอรอล เกาะจับแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และอาจลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด ผลที่ตามมาก็คือ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคต่างๆ ปัจจุบันเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ ส่วนมากมีผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการกรีดยาง ซึ่งต้องทำงานตั้งแต่กลางคืนจนถึงกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ต้องส่งลูกไปโรงเรียนมักเป็นเวลาที่ผู้ปกครองยังอยู่ในสวน ทำให้การเอาใจใส่ลูกเรื่องการกินอาหารเช้าไม่ค่อยสมบูรณ์ เด็กส่วนมากไม่ได้รับอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียน ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมสำหรับเด็กเท่าที่ควรได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญสำหรับเด็กกำลังเจริญเติบโต เป็นภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในเด็ก และการพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กเป็นไปอย่างล่าช้าจากข้อมูลปัญหาโภชนาการเด็กในสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ ของเด็กนักเรียนช่วงอายุ 2-3 ปี จำนวน 50 คน พบว่าเด็กเหล่านี้มีปัญหาการเจริญเติบโตไม่ตามเกณฑ์กรมอนามัย ( ผอม/เตี้ย/อ้วน ) คิดเป็นร้อยละ 56 ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพดี มีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโตตามวัย

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพดี มีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ ประจำปีการศึกษา 2566(7 ก.พ. 2566-8 ก.ย. 2566) 27,110.00                
รวม 27,110.00
1 เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ ประจำปีการศึกษา 2566 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 26 27,110.00 0 0.00
7 ก.พ. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง โภชนาการในเด็ก 0 3,210.00 -
7 ก.พ. 66 - 8 ก.ย. 66 กิจกรรมจัดอาหารเสริม (นม ไข่ ถั่ว ไก่) 26 16,900.00 -
6 มิ.ย. 66 - 8 ก.ย. 66 กิจกรรมชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กนักเรียน 0 7,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบาลอ มีสุขภาพดี
  2. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2566 11:43 น.