กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนวิถีใหม่ห่างไกลโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 66-L5284-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 23,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุธาทิพย์ ม่วงปลอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ภัยเงียบของโรค Metabolic (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง)ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการ และเสียชีวิต ตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งของภาครัฐ เอกชนและสถานบริการทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยา บุคลากร การจัดสถานที่และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศ มีอยู่อย่างจำกัด การมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolic โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีเป้าหมายเป็นประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาลในเลือด ซักประวัติพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะมีการดำเนินการส่งต่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกรายในรายที่ป่วยแล้ว ได้รับการตรวจประเมินภาวะโรค อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคลดลง จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ย้อนหลังปี 2563 -2565 พบว่ามีผลค่าดัชนีมวลกายเกิน คิดเป็นร้อยละ 39.35 , 39.65และ 39.61ตามลำดับ และจากผลการคัดกรองดังกล่าวพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่คิดเป็นร้อยละ 6.25 ,6.8 และ3.06 ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่คิดเป็นร้อยละ 6.25 ,6.8 และ3.06ปัจจุบันรพ.สต.บ้านกุบังปะโหลดมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 299 ราย ผู้ป่วยความดัน 214 ราย โรคเบาหวาน 11 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 85ราย
จากข้อมูลสถานการณ์ปัญหาและแนวโน้มการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด จึงได้จัดทำโครงการชุมชนวิถีใหม่ห่างไกลโรคเรื้อรัง ปี 2565 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายการป้องกันและการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน มีการประชุมกำหนดทิศทางนโยบาย ร่วมคิด ร่วมดำเนินการกำหนดมาตรการจัดการปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน และร่วมประเมินผล ตลอดจนเจ้าหน้าที่มีการถ่ายทอดความรู้ ด้านสุขภาพ รายบุคคลตามบริบท ของแต่ละบุคคลในชุมชนและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเพื่อมุ่งหวังประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ เกิดความตระหนัก ใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนสามารถจัดการสุขภาพตนเอง มีกิจกรรมดี ในการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน เกิดกลุ่มออกกำลังกาย มีการติดตามดูแลซึ่งกันและกันในชุมชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมในระดับหนึ่ง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการก่อนวัยอันควรลดกลุ่มป่วยโดยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ชุมชนอาจเกิดกฎกติกาหมู่บ้านในการทำกิจกรรม ดังนั้นในปี 2566 จัดทำโครงการชุมชนวิถีใหม่ห่างไกลโรคเรื้อรัง ปี 2566 ขึ้นอีกครั้งเพื่อเป็นการต่อยอดขยายความครอบคลุมให้กับกลุ่มเสี่ยงที่คัดกรองรายใหม่ปี 2565 ได้มีกิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.เข้มข้น เพื่อสกัดการเป็นกลุ่มป่วย โดยมีกลุ่มพี่เลี้ยงในการออกกำลังกาย และกิจกรรมการให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานมีการแจกต้นกล้าพันธ์ผักจากชุมชน ให้กลุ่มเสี่ยงรายใหม่ได้ปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน และมีการติดตามกลุ่มเสี่ยงป่วยจากแกนนำอสม.ในเรื่องการเจาะน้ำตาลและการวัดความดันโลหิตที่บ้านระยะเวลาในการติดตาม 1 เดือน 3 เดือน 6เดือน ซึ่งถือเป็นการดูแลซึ่งกันและกันในชุมชนอย่างแท้จริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคความดัน,เบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามรูปแบบ 3อ2ส. 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่

 

0.00
2 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคความดัน,เบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามรูปแบบ 3อ2ส. ข้อที่ 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่

ข้อที่ 1.1 ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองซ้ำร้อยละ 80 ข้อที่ 1.2 ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีการจัดตั้งกลุ่มปลูกผัก อย่างน้อย 1กลุ่ม ข้อที่ 1.3  ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีการกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3วัน วันละ30 นาทีขึ้นไป ข้อที่ 2.1 จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน  รายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5 ข้อที่ 2.2 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 2.5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 โครงการชุมชนวิถีใหม่ห่างไกลโรคเรื้อรัง ปี 2566 0 23,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.กลุ่มป่วยได้รับการส่งต่อ 3.มีกลุ่มออกกำลังกายในหมู่บ้านอย่างน้อย 1 กลุ่ม 4.มีกลุ่มปลูกผัก ในหมู่บ้านอย่างน้อย 1 กลุ่ม 5.ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2566 16:02 น.