โครงการสตรีตำบลจวบ รู้ก่อนโรคเรื้อรัง
ชื่อโครงการ | โครงการสตรีตำบลจวบ รู้ก่อนโรคเรื้อรัง |
รหัสโครงการ | 66-L8422-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ |
วันที่อนุมัติ | 29 กันยายน 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2566 |
งบประมาณ | 128,720.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางกัลยา อีซอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 700 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในพื้นที่ตำบลจวบอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังมีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลงดังนั้นการควบคุมป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังนั้นต้องประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายอารมณ์เครียดและการใช้ยาร่วมด้วยซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้สามารถควบคุมโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในตำบลจวบมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยโรคดังกล่าวสามารถป้องกันได้หลายวิธี การส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มสตรีในตำบลให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เพื่อการดูแลคนในครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคเรื้อรังดังกล่าว ดังนั้น งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ จึงจัดทำโครงการสตรีตำบลจวบ รู้ก่อนโรคเรื้อรัง ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง มีความรู้ สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน สามารถรู้ก่อนโรคและเฝ้าระวัง ควบคุมพฤติกรรมต่างๆที่ส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ต่อไปได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยง
3. เพื่อสร้างเครือข่ายสตรีในการป้องกันโรคเรื้อรัง
|
1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 128,720.00 | 3 | 128,720.00 | 0.00 | |
13 มี.ค. 66 | อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 1 จำนวน 250คน | 0 | 46,220.00 | ✔ | 46,220.00 | 0.00 | |
14 มี.ค. 66 | อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 2 จำนวน 250คน | 0 | 45,500.00 | ✔ | 45,500.00 | 0.00 | |
15 มี.ค. 66 | อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้ทันโรคเรื้องรัง รุ่นที่ 3 จำนวน 200คน | 0 | 37,000.00 | ✔ | 37,000.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 128,720.00 | 3 | 128,720.00 | 0.00 |
- กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
- มีเครือข่ายป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2566 00:00 น.