กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ เฝ้าระวังโรคติต่อในชุมชน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2514-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิรมาลย์ ดือราซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วงต่อประชากร
130.00
2 อัตราป่วยโรคตาแดงต่อประชากร
98.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ (ไข้หวัด) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน เพื่อส่งเสริมแกนนำสุขภาพประจำบ้านและผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพต่อไ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุุมเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องและและควบคุมโรคติดต่อ

ร้อยละของกลุุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องและและควบคุมโรคติดต่อ

80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

ร้อยละชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำนักเรียน 0 10,000.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพ 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2.ชุมชนสามารถควบคุมมิให้มีการแพร่ระบาดโรคติดต่อในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2566 00:00 น.