กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลยี่งอ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8012-4-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เลขานุการกองทุน
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฐิติพันธุ์ บุญเพิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ม.ค. 2566 17 ม.ค. 2566 2,010.00
2 9 ก.พ. 2566 9 ก.พ. 2566 6,525.00
3 8 ส.ค. 2566 8 ส.ค. 2566 2,010.00
4 29 ส.ค. 2566 29 ส.ค. 2566 7,865.00
5 30 ส.ค. 2566 30 ส.ค. 2566 7,500.00
รวมงบประมาณ 25,910.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (25,910.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (35,800.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระดับสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้าร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๓ (๓) มาตรา ๑๘ (๔) (๘) (๙) และมาตรา ๔๗ ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสานและกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อยกร่างหลักเกณฑ์การสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ซึ่งเทศบาลตำบลยี่งอได้เข้าร่วมทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ ๐๐๖๐๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลยี่งอมาแล้วเป็นเวลา ๗ ปี       กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลยี่งอ จึงได้จัดทำ“โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลยี่งอ ประจำปี ๒๕๖๖ ” ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนากองทุนให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ

 

2 2.เพื่อให้กองทุนมีวัสดุและครุภัณฑ์สำนักงานใช้อย่างเพียงพอ

 

3 3.เพื่อสนับสนุนงานของกองทุนและให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

 

4 4.เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนในการบริหารงานกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

 

5 5.เพื่อพัฒนางานและติดตามความก้าวหน้าของกองทุน

 

6 6. เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งาน

 

7 7. เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 78 28,300.00 0 0.00
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 ค่าตอบแทนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ จำนวน 3 ครั้ง 26 25,600.00 -
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการประชุม 3 ครั้ง 26 2,345.00 -
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมอื่นๆที่จำเป็น อาทิ เช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเข้าเล่มเอกสาร นิเทศกองทุน 26 355.00 -
1 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 ค่าจัดซื้อครุภัณฑ์สำนักงานโต๊ะพับอเนกประสงค์สำหรับจัดประชุมเพื่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ 26 7,500.00 -
26 7,500.00 0 0.00

๑. ขั้นตอนวางแผน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในที่การประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน - กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ๒. การปฏิบัติงานของกองทุนเป็นไปด้วยความคล่องตัว ๓. มีวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์สำนักงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ๔. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลยี่งอ และคณะกรรมการกองทุนมีการพัฒนาและ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2566 12:16 น.