กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนใส่ใจสุขภาพ ลดปริมาณขยะ ลดแหล่งก่อโรคประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตันหยงมัส
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรรณิกา มะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.311,101.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทศบาลตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส มีปริมาณขยะเฉลี่ย 2 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทุกวันส่งผลให้มีขยะตกค้างในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เช่น ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเน่าเสีย เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่าควัน ขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยากทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม ปริมาณขยะที่พบในถังขยะสามารถคัดแยกขยะได้จากต้นทางโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลตันหยงมัส เพื่อลดปริมาณขยะและแหล่งสะสมเชื้อโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตันหยงมัส มีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้ประชาชน เยาวชนในโรงเรียน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย ปริมาณขยะทุกประเภทจะลดลงโดยการรู้จักการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางโดยการมี ส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นการส่งเสริมให้ชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่มีการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพของประชาชน อาศัยอำนาจตามความใน แนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2557 (7.4) เพื่อให้เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ควบคุมและป้องกันมลพิษในชุมชน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพในชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพในชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน ประกอบกับอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 (7) และ (24) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มีอำนาจและหน้าที่คุ้มครอง ดูแล และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตันหยงมัส จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน "ประชาชนใส่ใจสุขภาพ ลดปริมาณขยะ ลดแหล่งก่อโรค" ประจำปีงบประมาณ 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ลดแหล่งก่อโรค และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ร้อยละ 80  ของกลุ่มเป้าหมายสามารถบริหารจัดการขยะในพื้นที่  ได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดแหล่งก่อโรค

2 เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ ลดแหล่งก่อโรค

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถปรับสภาพแวดล้อมได้ถูกสุขลักษณะ และสามารถลดแหล่งก่อโรค

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการบริหารจัดการขยะทุกประเภท เพื่อลดปัญหาขยะตกค้าง ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ร้อยละ 80  ของกลุ่มเป้าหมายรู้จักการบริหารจัดการทุกประเภท  ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การบริหารจัดการขยะในพื้นที่มีประสิทธิภาพ ลดแหล่งก่อโรค และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
    1. ประชาชน เยาวชน และหน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง
    2. ประชาชนรู้จักการบริหารจัดการขยะทุกประเภท สามารถปัญหาขยะตกค้าง ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
    3. สภาพแวดล้อมในชุมชนถูกสุขลักษณะ ลดแหล่งก่อโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2566 14:00 น.