กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยจากมะเร็งปากมดลูกปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8012-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยี่งอ
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณิสา ซูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.พ. 2566 31 พ.ค. 2566 18,820.00
รวมงบประมาณ 18,820.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ ๔ ของสตรีไทยทั่วโลก ประเทศไทยได้แก้ปัญหามะเร็งปากมดลูกโดยโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ครอบคลุมพื้นที่ ๗๕ จังหวัด ด้วยวิธีการตรวจแปปสเมียร์และในรายที่พบความผิดปกติต้องมีวิธีการตรวจโดยมีวิธีมาตรฐานเพื่อสรุปว่าเป็นมะเร็งปากมดลุกหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อการรักษามะเร็งระยะแรกเริ่มแรก รวมทั้งการลดอุบัติการณ์และอันตราย ดังนั้นเพื่อการศึกษาอัตราอุบัติการณ์การตรวจยืนยันผลพยาธิวิทยา ในการลดอุบัติการณ์และอันตรายจากมะเร็งปากมดลูกควรมีการตรวจคัดกรองสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีให้มากที่สุด โดยต้องทำซ้ำทุก ๕ ปี โดยจังหวัดนราธิวาสได้กำหนดตัวชี้วัดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีร้อยละ ๘๐ สะสมผลงาน ๕ ปี จากการดำเนินงานมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยี่งอ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๕ สะสมผลงานนั้นพบว่าสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้ผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้งสิ้นจำนวน ๒๐๔ คนคิดเป็นร้อยละ ๒๙.๙๐ และพบว่าพื้นที่ที่ตรวจน้อยที่สุดได้แก่ ม.๓ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ตรวจทั้งสิ้นจำนวน ๒๐ ตนคิดเป็นร้อยละ ๑๔.๙๘ จะเห็นได้ว่าอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูกของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ม.๓ นั้นได้ผลงานที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาก จากการสอบถามจากอสม.ในเขตพื้นที่รับผิดชอบกล่าวคือกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาล ม.๗ นั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีงานประจำเช่นบางคนทำงานรับราชการ บางคนเป็นลูกจ้างและบางคนค้าขายเป็นในลักษณะไปเช้าเย็นกลับ ไม่สะดวกในการตรวจในเวลาราชการทั้งแบบมาตรวจที่โรงพยาบาลหรือบ้าน บางคนนั้นอ้างว่าต้องการตรวจคลินิกหรือรพ.เอกชน บางคนไม่ให้ความร่วมมือโดยอ้างว่าตัวเองไม่ได้ป่วยไม่มีอะไรผิดปกติไม่จำเป็นต้องตรวจซึ่งปัญหาทั้งหมดทั้งมวลนั้นมาจากการไม่ตระหนักและไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นยิ่งทางเจ้าหน้าที่จะต้องลงมาปฏิบัติการค้นหาและให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้แบบเชิงรุก เนื่องจากความรู้ที่ถูกต้องสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนะคติและนำมาซึ่งการตัดสินใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก

สามารถค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะที่ 1 และ 2 ร้อยละ

2 2.สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด

กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบผิดปกติจะได้รับการส่งต่อร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมายและให้ความรู้เชิงรุกในชุมชน - ประสานอสม.ในเขตรับผิดชอบก่อนลงพื้นที่ - ลงเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายในลักษณะเป็นกลุ่มย่อยเพื่อความครอบคลุมกลุ่ม - ขึ้นทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในพื้นที่ให้ชัดเจน 2.กิจกรรมให้ความรู้ - ให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการในเด็ก - ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง 3.กิจกรรมชั่งน้ำหนักและส่วนสูง - ผู้ปกครองสามารถติดตามการเจริญเติบโตด้านรูปร่างของเด็กจากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดสีชมพู) 4.กิจกรรมกลุ่ม - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ 5.กิจกรรมติดตามมาพบแพทย์และการส่งต่อ - ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการคัดกรองผิดปกติมาพบแพทย์และได้รับการรักษาทันทีเมื่อมีบ่งชี้ - ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการคัดกรองผิดปกติไปยัง รพ.นราธิวาสราชนครินทร์เมื่อมีข้อบ่งชี้ - ติดตามผลการรักษาโดยการเยี่ยมบ้านและวางแผนการช่วยเหลือเมื่อมีข้อบ่งชี้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ไม่พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจาย 2. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2566 15:56 น.