กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรอบรู้พฤติกรรมสุขภาพชุมชนเทศบาลยี่งอ
รหัสโครงการ 66-L8012-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดุลย์ เร็งมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.พ. 2566 31 ก.ค. 2566 10,040.00
รวมงบประมาณ 10,040.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัญหาการเกิดโรคที่มีมาก โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพและการเกิดโรคภัยไข้เจ็บให้ลดลงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยการส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวบุคคล (ปัจจัยนำ) เช่น ความรู้การรับรู้ ความเข้าใจ และปัจจัยแวดล้อม (ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม) อย่างเหมาะสม ในการพัฒนาปัจจัยในจะต้องปลูกฝังให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ซึ่งหมายถึง ความสามารถและทักษะในการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพความรู้ ความเข้าใจเพื่อวิเคราะห์ ประเมินและจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชนได้ การพัฒนาความรู้รอบด้านสุขภาพจึงเป็นการสร้างแอละพัฒนาขีดความสามารถในระดับบุคคลและเป็นการรักษาสุขภาพตนเองอย่างยั่งยืน (กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ,๒๕๖๑) ซึ่งการมีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับขั้นพื้นฐานต่ำจะมีผลต่อการเพิ่มอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยขึ้นและมรอัตราการตายสูงขึ้น แต่ถ้ามีความรอบรู้ระดับพื้นฐานสูงเพียงพอจะทำให้เกิดผลลัพธ์ทาวงด้านสุขภาพที่ดี เช่น มีภาวะสุขภาพที่ดี ลดอัตราการป่วย การเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่าย (ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร,๒๕๕๔) กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases:NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญและโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการมีกิจกกรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ป่วยด้วย NCDs นอกจากจะต้องให้ความร่วมมือในการรักษาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ร่วมด้วย จากการรายงานสถานการณ์การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในผู้ป่วยด้วย NCDs ในประเทศไทยจากการสำรวจอนามัย และสวัสดีการ พ.ศ. ๒๕๕๘ จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในกลุ่มประชากรไทยที่มีอายุ ๑๕-๖๕ ปีโดยทำการศึกษาข้อมูลที่รายงานว่าป่วยด้วย NCDs ๔ กลุ่มหลักได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคทางหายใจเรื้อรัง พบว่า ผู้ป่วย NCDs ใน ๔ กลุ่มโรคหลักนี้ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงในการสูบบุหรี่ร้อยละ ๑๐.๗ ดื่มเครื่องดื่มรถหวาน ร้อยละ ๕๑.๓ และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ร้อยละ ๖๘.๘ โดยเพศชายมีการสูบบุหรี่ มากกว่าเพศหญิง และเพศหญิงมีการดื่มเครื่องดื่มรสหวานและกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอมากกว่าเพศชาย (อมรรัตน์ มานะวัฒนวงศ์และคณะ,๒๕๖๐) จากรายงานทางระยาดวิทยาตั้งแต่ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ ของจังหวัดนราธิวาส พบว่ามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเมื่อมองในภาพของอำเภอยี่งอ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน คือ ร้อยละ ๑๘.๖๓,๑๙.๕๕ ตามลำดับ พบอัตราป่วยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย กลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีอัตราป่วยสูงที่สุดรองลงมาคือ กลุ่มอายุ ๕๐-๕๙ ปี , กลุ่มอายุ ๔๐-๔๙ ปี , กลุ่มอายุ ๑๕-๓๙ ปี และกลุ่มอายุ ๐-๑๔ ปีตามลำดับ (วสุวัฒน์ ทัพเคลียวและปริยา ศานุพงศ์,๒๕๖๐) เทศบาลยี่งอร่วมกับโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พบว่า NCDs ยังเป็นปัญหาอันดับแรกที่พบในชุมชน ซึ่งสถิติ ๔ ปี ย้อนหลัง (ปี พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๕) พบจำนวนผู้ป่วยโรค NCDs เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงาน เพศหญิง อีกทั้งยังสูญเสียค่าใช้จ่ายและงบประมาณในการให้บริการด้านรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็น จำนวนมาก จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความรอบรู้พฤติกรรมสุขภาพชุมชนเทศบาลยี่งอ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในเขตเทศบาลยี่งอ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคและเกิดประโยชน์สูงสุดคือ สามารถดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ร้อยละ 80

2 2.เพื่อส่งเสริมภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินงานสร้างเสริมความรอบรู้ด้านพฟติกรรมสุขภาพในชุมชน

2.ชมชนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฟติกรรมสุขภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำสื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพ 3 อ. 2 ส.
  2. กิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้พฤติกรรมสุขภาพ   2.1 ประเมิน/วิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3 อ. 2 ส. ครั้งที่ 1   2.2 กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน
  4. ประเมิน/วิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3 อ. 2 ส. ครั้งที่ 2
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน 2.ได้องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพภาวะชุมชน 3.ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 4.สามารถสร้างสุขภาวะชุมชนเป็นชุมชนรอบรู้สุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2566 10:49 น.