กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหญิงวัยเจริญพันธุ์
รหัสโครงการ 66-L8012-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดุลย์ เร็งมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 29 ก.ย. 2566 9,600.00
รวมงบประมาณ 9,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม Cancers in Thailand , Summary Report 2010 ได้รายงานในปี พ.ศ. 2551 ประเทศไทยมีประชากรสตรีที่เสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก 26.09 ล้านคน มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ 9,999 ราย เสียชีวิต 5,216 ราย หรือประมาณร้อยละ 53 ถ้าคิดเป็นวันแล้วจะมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ 14 คนอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูก สูงสุดในช่วงอายุ 50 - 55 ปี สำหรับอุบัติการณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ มีความแตกต่างจากภาพรวมของประเทศ คือพบว่ามีอุบัติการณ์สูงสุดในช่วงอายุ 65-70 ปี โดยใกล้เคียงกับในช่วงอายุ 50 - 55 ปี, 40 ถึง 45 ปีและ 35 ถึง 40 ปีซึ่งมีอุบัติการณ์สูงรองๆกันไป และจากการศึกษาทางด้านไวรัส พบว่าเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (Human Papilloma Virus, HPV) เชื้อไวรัส HIV โดยเฉพาะไวรัสเอชพีวี 16 และ 18 เป็นสาเหตุหลัก ให้เกิดมะเร็งปากมดลูก (3,4) สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อไวรัส ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อยการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะแรก และการดูแลรักษาสตรีที่พบโรคในระยะเซลล์ผิดปกติ แต่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง 4,5,8 เป็นการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม โดยการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ทำให้ลดอัตราการตายได้ ในการลดอุบัติการณ์และอัตราตายจากมะเร็งปากมดลูกควรมีการตรวจคัดกรองสตรีอายุ 30-60 ปีให้มากที่สุด โดยต้องทำซ้ำทุก 5 ปี โดยจังหวัดนราธิวาสในกำหนดตัวชี้วัดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปีร้อยละ 80 สะสมผลงาน 5 ปี จากการดำเนินงานมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ตั้งแต่ปี 2560-2565 สะสมผลงานนั้นพบว่าสตรีอายุ 30-60 ปีได้ผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้งสิ้นจำนวน 302 คน คิดเป็นร้อยละ 29.90 และพบว่าพื้นที่ที่ตรวจได้น้อยที่สุดได้แก่ หมู่ 7 ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ตรวจทั้งสิ้นจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 14.98 จะเห็นได้ว่าอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่หมู่ 7 นั้น ได้ผลงานที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาก จากการสอบถามจากอสม. ในเขตพื้นที่รับผิดชอบกล่าวคือกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลหมู่ 7 นั้น เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีงานประจำ เช่น บางคนทำงานรับราชการ บางคนเป็นลูกจ้างและบางคนค้าขายเป็นในลักษณะไปเช้าเย็นกลับ ไม่สะดวกในการตรวจในเวลาราชการ ทั้งแบบมาตรวจที่โรงพยาบาลหรือที่บ้าน บางคนนั้นอ้างว่าต้องการตรวจคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน บางคนไม่ให้ความร่วมมือโดยอ้างว่าตัวเอง ไม่ได้ป่วยไม่มีอะไรที่ผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องตรวจ ซึ่งปัญหาทั้งหมดทั้งมวลนั้นมาจากการไม่ตระหนักและไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางเจ้าหน้าที่จะต้องลงปฏิบัติการค้นหาและให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้แบบเชิงรุก เนื่องจากความรู้ที่ถูกต้องสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติและนำมาซึ่งการตัดสินใจในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 5 ปี /ครั้ง

-สามารถค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะที่ 1 และ 2 ร้อยละ >50 -กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบผิดปกติจะได้รับการส่งต่อร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมายและให้ความรู้เชิงรุกในชุมชน   - ประสาน อสม.ในเขตรับผิดชอบก่อนลงพื้นที่   - ลงพื้นเพื่อการค้นหากลุ่มเป้าหมายในลักษณะเป็นกลุ่มย่อยเพื่อความครอบคลุมกลุ่ม   - ขึ้นทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในพื้นที่ให้ชัดเจน
  2. กิจกรรมให้ความรู้   - ให้ความรู้เกี่ยวกับภัยเงียบของมะเร็งปากมดลูกเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนะคติต่อการตรวจคัดกรองและเพิ่มความตระหนัก   - ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายที่ยินยอมโดยใช้รถโมบายเคลื่อนที่
  3. กิจกรรมแจ้งผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก   - ผลปกติแจ้งผ่าน อสม.ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ   - ผลผิดปกติติดตามให้มาฟังผลโดยแพทย์
  4. กิจกรรมติดตามมาพบแพทย์และการส่งต่อ   - ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการคัดกรองผิดปกติมาพบแพทย์และได้รับรักษาทันทีเมื่อมีข้อบ่งชี้   - ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการคัดกรองผิดปกติไปยัง รพ.นราธิวาสราชนครินทร์เมื่อมีข้อบ่งชี้   - ติดตามผลการรักษาโดยการเยี่ยมบ้านและวางแผนการช่วยเหลือเมื่อมีข้อบ่งชี้
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ไม่พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจาย 2.กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งมามารถรักษาให้หายขาดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2566 12:38 น.