กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแป-ระ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 7 การใช้เงินตามมติบอร์ด
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 46,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พื้นที่ดำเนินการ องค์การลริหารส่วน ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.8349573342128,99.928929217098place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 46,500.00
รวมงบประมาณ 46,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังในตำบลแป-ระ ปี 2563 ส่วนใหญ่คือโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 553 ราย โรคเบาหวาน 190 ราย (ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์จังหวัดสตูล HDC. ปีงบประมาณ 2563) ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ โรคความดันโลหิตสูง 334 ราย ควบคุมโรคได้159 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.75 โรคเบาหวาน 129 ราย ควบคุมโรคได้ 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.53 จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย หากมีการควบคุมโรคไม่ได้มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนตามมา อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคจอประสาทตาเสื่อม แผลเรื้อรังจากโรคเบาหวาน อัมพฤกษ์,อัมพาต ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ในอนาคต นอกจากนี้ผู้ป่วยติดเตียงยังเกิดจากการประสบอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือสาเหตุอื่น ในปัจจุบันตำบลแป-ระ มีกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 14 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญที่จำต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม นอกจากการให้ความรู้ การให้กำลังใจ การเยี่ยมติดตามแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังต้องการครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ด้วยสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ป่วย บางครอบครัวไม่สามารถจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ได้ โดยเฉพาะเตียงนอนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ยังมีเตียงสำหรับผู้ป่วยไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยที่อาจมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในอนาคต จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาวะของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง จึงได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแป-ระ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เตียงเฟาว์เลอร์) สำหรับผู้ป่วยติดเตียง

1 ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยติดเตียง มีเตียงสำหรับผู้ป่วยใช้อย่างเหมาะสม
2 ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีภาวะแทรกซ้อนลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เตียงเฟาว์เลอร์)(10 ก.พ. 2566-30 ก.ย. 2566) 46,500.00                    
รวม 46,500.00
1 จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เตียงเฟาว์เลอร์) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 46,500.00 1 46,500.00
26 พ.ค. 66 จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เตียงเฟาว์เลอร์) 0 46,500.00 46,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ มีเตียงสำหรับผู้ป่วย (เตียงเฟาว์เลอร์) สนับสนุนผู้ป่วยติดเตียง 2 ผู้ป่วยติดเตียงที่ได้รับการสนับสนุนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3 ผู้ดูแลมีกำลังในในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2566 14:09 น.