โครงการอบรมแกนนำชุมชนเฝ้าระวังคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2566
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมแกนนำชุมชนเฝ้าระวังคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2566 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า |
วันที่อนุมัติ | 1 มกราคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 136 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก | 10.00 | ||
2 | ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก | 25.00 | ||
3 | ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า | 9.21 | ||
4 | ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก | 17.14 | ||
5 | ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า | 7.14 | ||
6 | ร้อยละของกลุ่มหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช | 54.54 | ||
7 | ร้อยละของแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจโรคทางสุขภาพจิตและจิตเวช | 67.21 | ||
8 | ร้อยละการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง | 76.10 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
การฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากรายงานกรมสุขภาพจิตพบว่า ในปี 2563 และปี 2564 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จรวมทั้งสิ้น 4,822 ราย และ 4,810 ราย คิดเป็น 7.37 และ 7.37 ต่อแสนประชากร กลุ่มอายุที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 30-40 ปี ซึ่งถือเป็นวัยแรงงานที่สำคัญของประเทศ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มาจากการทะเลาะเบาะแว้งกับคนใกล้ชิด น้อยใจ ถูกดุด่า ถูกตำหนิ ปัญกาความรัก ความหึงหวง การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว รวมทั้งกลุ่มใช้สุราและสารเสพติดที่มีอาการจิตประสาทร่วมด้วย จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2563 และปี 2564จำนวน 129 ราย และ 110 ราย คิดเป็น 6.92 และ 5.91 ต่อแสนประชากร
ในพื้นที่ตำบลหนองเหล่า ปี 2565 มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ จำนวน 1 ราย ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยที่ควรร่วมมือกันเฝ้าระวังและป้องกันอย่างจริงจัง ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์ เช่น การน้อยใจ ถูกดุด่า โดนตำหนิ ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หุนหันพลันแล่น ถูกนอกใจ อกหักรักคุด รวมไปถึง มีปัญหาติดสุรา ยาเสพติด ทรมานจากโรคเรื้อรัง เป็นโรคจิต โรคซึมเศร้าอยู่เดิม เคยทำร้ายตัวเองมาก่อน ตลอดจนมีปัญหาเศรษฐกิจ ยากจน ขัดสน เงินไม่พอใช้ เสียทรัพย์จากการพนัน เป็นต้น การฆ่าตัวตาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยซึ่งอยากให้มองว่าการฆ่าตัวตาย เป็นเหมือนโรคๆ หนึ่ง ที่รักษาได้ และ ป้องกันได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกคน
การแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่สำคัญ คือ ต้องขับเคลื่อนด้วยผู้กำหนดนโยบายอย่างจริงจังพร้อมมีข้อมูลหลักฐานวิชาการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาขับเคลื่อนไปได้ กลวิธีสำคัญในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ แผนงาน กลยุทธ์ ที่ชัดเจน การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง บูรณาการแก้ไขปัญหาใน ทุกรูปแบบ มีการประเมินอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงการดูแลสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้อง ลดการเข้าถึงอาวุธ สารเคมี และแอลกอฮอล์ ตลอดจน ความร่วมมือที่ดีจากสื่อมวลชนในการนำเสนอปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีความถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ลดและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย สำหรับมาตรการป้องกันในหน่วยงาน คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตายและโรคทางจิตเวชต่างๆ การสังเกต เฝ้าระวัง เพื่อนร่วมงานที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือต่อไป ส่วนคนที่เคยมีอาการแล้วดีขึ้น จะมีการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม ปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้ ทั้งจากคนใกล้ชิดและเพื่อนร่วมงาน โดยพบว่า การให้กำลังใจ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองจะช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล่า จึงได้จัดทำโครงการอบรมแกนนำชุมชนเฝ้าระวังคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและลดอัตราการฆ่าตัวตายในชุมชน จึงขอเสนอโครงการอบรมแกนนำชุมชนเฝ้าระวังคัดกรองโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก |
25.00 | 20.00 |
2 | เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า |
9.21 | 8.00 |
3 | เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก |
10.00 | 8.00 |
4 | เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก |
17.14 | 15.00 |
5 | เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า |
7.14 | 6.00 |
6 | เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช |
54.54 | 80.00 |
7 | เพื่อให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจโรคทางสุขภาพจิตและจิตเวช ร้อยละของแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจโรคทางสุขภาพจิตและจิตเวช |
67.21 | 80.00 |
8 | เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง |
76.10 | 80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 31 ม.ค. 66 | 1. ก่อนดำเนินการ | 0 | 0.00 | - | ||
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 | 2. ขั้นดำเนินงาน | 0 | 15,100.00 | - | ||
1 - 30 ก.ย. 66 | 3. ขั้นหลังดำเนินการ | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 15,100.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง
- เกิดระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
- ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า
- ประชาชนกลุ่มที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการดูแลและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2566 12:01 น.