การเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย
ชื่อโครงการ | การเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย |
รหัสโครงการ | 66-L2479-03-29 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย |
วันที่อนุมัติ | 10 มีนาคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 10 มีนาคม 2566 |
งบประมาณ | 14,975.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรอกีเยาะ แมเราะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวซูฮัยลา ยูโซะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการ ดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและ โภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผูใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็น วัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มี ความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรก ของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อ ส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและ พัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุ เหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหาร ตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกาย เหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะโภชนาการ
|
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยก่อนเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาเจริญเติบโตสมวัย
|
0.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก ๒-๔ ปี
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 14,975.00 | 1 | 14,975.00 | |
17 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | กิจกรรมบรรยายให้ความรู้้แก่ผู้เข้าร่วมการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอสะเตีย | 50 | 14,975.00 | ✔ | 14,975.00 |
๑ เด็กปฐมวัย ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทาง โภชนาการ ๒ เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาเจริญเติบโตสมวัย ๓ ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก ๒- ๔ ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 14:21 น.