กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวตาแกะเรียนรู้ RDU ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชนปลอดยาอันตรายปีงบ 2566
รหัสโครงการ 66-L3042-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแกะ
วันที่อนุมัติ 19 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 37,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟัตฮียะห์ ตาแม
พี่เลี้ยงโครงการ นางแวมารีนี มะแซ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

    การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนตำบลตาแกะ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 ตามโครงการ “ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล คนตาแกะปลอดภัย” เริ่มจากการสร้างความตระหนักรู้แก่แกนนำชุมชน เกิดรูปธรรมการดำเนินงาน โดยเฉพาะกระแสตื่นตัวในชุมชน มีภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อร่วมผลักดัน RDU ในระดับชุมชน ได้แก่ ตัวแทนอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ,ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา เป็นต้น ปีที่ 4ได้พัฒนาต่อภายใต้โครงการ “ชุมชนตาแกะระวังภัย ป้องกันอันตรายจากการใช้ยา”มีเป้าหมายเพิ่มสร้างกลไกการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายขยายเครือข่าย RDU สู่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในตำบลตาแกะ ตลอดจนให้ชุมชนมีความรู้ในการจัดการตนเองเบื้องต้นด้านสมุนไพร ซึ่งปีที่ 4 มีการขยายการให้ความรู้ RDU ไปสู่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผลจากการให้ความรู้ด้าน RDU แก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ทำให้การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในตำบลตาแกะมีกลุ่มเป้าหมายในการเฝ้าระวังการใช้ยาที่ไม่ปลอดภัยในชุมชนเพิ่มขึ้น และสามารถให้ความรู้ บอกต่อแก่คนครอบครัวตนเองและคนในชุมชนได้ จากการดำเนินงานใน 4ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนในตำบลตาแกะ มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น ปรับทัศนคติที่มีต่อการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะและการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อยอดเป็นปีที่ 5ซึ่งจะเน้นในการเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านยาในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งต่อองค์ความรู้ด้าน RDU ร่วมกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น ด้วยมุ่งหวังให้เครือข่ายและประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านยา รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ชุมชนสามารถจัดการความเสี่ยงที่พบได้ ภายในโครงการ“ชาวตาแกะเรียนรู้ RDU ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชนปลอดยาอันตรายปีงบ 2566”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตาแกะ

1.ร้อยละ 60 เครือข่ายในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตาแกะ

2 เพื่อให้เครือข่ายแกนนำRDUในโรงเรียน 3 แห่ง มีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตาแกะ

ร้อยละ 60 เครือข่ายแกนนำRDUในโรงเรียน 3 แห่งมีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตาแกะ

3 เพื่อให้ร้านชำในตำบลตาแกะ ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ “ร้านชำ RDU ปลอดยาอันตราย”

ร้อยละ 80 ร้านชำในตำบลตาแกะ ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ “ร้านชำ RDU ปลอดยาอันตราย”

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 390 37,150.00 9 37,150.00
1 - 31 พ.ค. 66 ป้ายไวนิลโครงการ และป้ายสื่อประชาสัมพันธ์ RDU 0 3,600.00 3,600.00
1 - 31 พ.ค. 66 ค่าเอกสารในการจัดประชุม/จัดทำโครงการ/ การสรุปโครงการ 0 2,700.00 2,700.00
1 - 30 มิ.ย. 66 อบรมหลักสูตร “ก่อแก่น แกน RDU” แก่เครือข่ายในชุมชน ครั้งที่ 1 50 6,800.00 6,800.00
1 - 30 มิ.ย. 66 อบรมหลักสูตร “ก่อแก่น แกน RDU” แก่เครือข่ายในชุมชน ครั้งที่ 2 50 6,800.00 6,800.00
1 - 30 มิ.ย. 66 อบรมหลักสูตร “ก่อแก่น แกน RDU” แก่แกนนำRDUในโรงเรียน 3 แห่ง ครั้งที่ 1 60 4,800.00 4,800.00
1 - 30 มิ.ย. 66 อบรมหลักสูตร “ก่อแก่น แกน RDU” แก่แกนนำRDUในโรงเรียน 3 แห่ง ครั้งที่ 2 60 4,800.00 4,800.00
1 - 31 ก.ค. 66 พัฒนาพัฒนาร้านชำในชุมชนให้เป็น “ร้านชำRDU ปลอดยาอันตราย” โดยเครือข่ายในชุมชน 30 3,000.00 3,000.00
1 - 31 ก.ค. 66 ส่งเสริมให้เครือข่ายฯและชุมชนจัดการตนเองด้านการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน 30 3,000.00 3,000.00
1 - 31 ก.ค. 66 5. มอบประกาศนียบัตร สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม 110 1,650.00 1,650.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่าย RDU ในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตาแกะ
  2. เครือข่าย RDU ในโรงเรียนทั้ง 3 แห่ง มีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตาแกะ
  3. ร้านชำในตำบลตาแกะ ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ “ร้านชำ RDU ปลอดยาอันตราย”
  4. เกิดศูนย์แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับRDU ในชุมชน
  5. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแจ้งข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันการแพร่กระจายยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตาแกะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2566 00:00 น.