กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลลิดลร่วมใจพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L4142-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 51,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุสนานี สาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิดล อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 51,210.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 51,210.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดมาแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก ตั้งแต่ ปี2562 ทำให้ผลงานการดูแลสุขภาพมารดาและทารกดีขึ้นเป็นลำดับดังนี้ หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 64.52 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 68.33 ในปี2565มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เพิ่มจากร้อยละ 73.85 ในปี2564 เป็นร้อยละ 78.46 ในปี 2565และพบผลการดำเนินงานต่ำกว่าเกณฑ์ดังนี้ ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 0 ในปี2564 เพิ่มเป็นร้อยละ 11.54 ในปี 2565 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.44 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 8.89 ในปี 2565, ปี 2565 มีเด็กวัย 0 – 5 ปี ที่ได้รับการตรวจพัฒนาการ จำนวน 357 คน พบสงสัยมีพัฒนาการล่าช้าจำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 41.45 ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพมารดาและทารก ที่ยังเป็นปัญหาต้องมีการแก้ไขอยู่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล จึงได้จัดทำโครงการตำบลลิดลร่วมใจพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2566เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนางานดูแลสุขภาพมารดาและทารกในปี 2566 ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้มีคุณภาพ
  1. เพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้มีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน - ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 - หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75 - หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 75 - ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 10 - ร้อยละ 70 ของมารดาหลังคลอดสามารถกระตุ้นพัฒนาทารกได้ตามวัย



    1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของหญิงมีครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ ในตำบลลิดล ดังนี้
      • ร้อยละ 80 ของหญิงมีครรภ์และวัยเจริญพันธ์มีความรู้ และทักษะการดูแลตนเองด้านอนามัยมารดาและทารก
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : พัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้มีคุณภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 พัฒนาสุขภาพอนามัยและเด็ก 51,210.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
    • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75
    • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 75
    • ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 10
    • ร้อยละ 70 ของมารดาหลังคลอดสามารถกระตุ้นพัฒนาทารกได้ตามวัย
  • ร้อยละ 80 ของหญิงมีครรภ์และวัยเจริญพันธ์มีความรู้ และทักษะการดูแลตนเองด้านอนามัยมารดาและทารก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 11:12 น.