กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการและโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ตำบลตันหยงจึงงา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการและโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ตำบลตันหยงจึงงา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66-L3044-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 115,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนัสรียา สะอุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงจึงงา อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.781,101.439place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 6 เดือน-5ปี ที่่มีภาวะซีด
46.67
2 ร้อยละของเด็กอายุ 6 เดือน-5ปี ที่่มีภาวะเสี่่ยงทุพโภชนา
41.23
3 ร้อยละของมารดาที่กำลังให้นมบุตที่มีภาวะซีด
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี เป็น“โอกาสทอง” ในการ พัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโต ด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง คลินิกเด็กดีคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นสถานที่หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโต และ มีพัฒนาการ อย่างรอบด้านอย่างเต็มศักยภาพในภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปีพ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นและ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร จากสถานการณ์ด้านภาวะการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย (0 –5 ปี) ในพื้นที่ /รพ.สต ตันหยงจึงงา พบว่ามีเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 114 คน มีปัญหาน้ำหนักน้อยต่ำกว่าเกณฑ์ 47 คน คิดเป็นร้อยละ 41.23 และเด็กที่มีอายุ 6 เดือน - 1 ปี จำนวน 15 คน มีภาวะโลหิตจาง 7 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67 ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้น รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา จึงได้จัดทำโครงการที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพเพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี

เด็กอายุ 6 เดือน- 5 ปี ได้รับการคัดกรองภาวะซีด ร้อยละ 80

100.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 6 เดือน- 5 ปี ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแล

เด็กอายุ 6 เดือน- 1 ปี มีภาวะซีดลดลง ร้อยละ 50

24.00
3 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็ก อายุ 0 - 5 ปี

เด็กที่มีอายุ 0 - 5 ปีมีภาวะทุพโภชนาการลดลง ร้อยละ 50

20.50
4 เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการส่งเสริมโภชนาการ ร้อยละ 100

เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการส่งเสริมโภชนาการ ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหืตจางและยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง
  2. เด็กที่มีภาวะซีดได้รับการติดตามดูแล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 14:38 น.