กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ พัฒนาศักยภาพแกนนำในการควบคุมและป้องกันวัณโรค ปี2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและระบาดวิทยา โรงพยาบาลระแงะ
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและระบาดวิทยา โรงพยาบาลระแงะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.311,101.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศเป็นเวลายาวนาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงอุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของวัณโรคและการดื้อยาดังนั้น กระทรวงสาธาณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติในอันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรคโดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรคจากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค มากกว่าร้อยละ 90 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผุ้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยาต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOT ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจาหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือบุคคลในครอบครัวหรืออาสาสมัคร เพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไปจำนวนผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลระแงะ ตั้งแต่ปี 2561 ถึง ปี 2565 ทั้งหมด  36  ราย เสียชีวิต 0 ราย อัตราการรักษาหาย  15  ราย       โรงพยาบาลระแงะ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำในการควบคุม ป้องกันและค้นหาผู้ป่วยวัณโรค เพื่อดำเนินการควบคุมวัณโรคแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแนวทางวัณโรคแห่งชาติ ค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง สัมผัสใกล้ชิดและร่วมกับการควบคุมกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่คนในชุมชนและ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในการควบคุมป้องกันวัณโรค

แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันวัณโรค ร้อยละ 100

2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกินยาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน

ติดตามการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน ร้อยละ 100

3 เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันโรควัณโรค อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ลดอัตราการแพร่ระบาดวัณโรคลดลงจากเดิม ร้อยละ 10

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันวัณโรค
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการติดตามดูแลรักษาจากเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครอย่างใกล้ชิด
  3. เพื่อเพิ่มความสำเร็จของการรักษา ลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 15:40 น.