กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายด้วยการเดิน-วิ่ง
รหัสโครงการ L1542-66-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีตำบลตะเสะ
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มีนาคม 2566 - 18 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพิทยา ทุ่ยอ้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.033,99.449place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การออกกำลังกายที่ส่งผลสุขภาพที่ดี กาเดินถือเป็นการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากและไม่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจนเกินไป แค่เดินอย่างต่อเนื่องเพียงวันละ 30 นาที อย่างน้อย 4-5 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย แต่หากไม่สามารถเดินติดต่อกันได้นาน 30 นาที อาจแบ่งช่วง ๆละ 10-15 นาที แล้วค่อยๆเพิ่มเวลาให้นานขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายด้วยการเดินควรเริ่มดังนี้ 1.ควรเดินในอัตราเร็วที่ทำให้เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็วขึ้นกว่าปกติ ชีพตรเต้นเร็ว แต่ไม่ถึงกับหอบหรือหายใจไม่ทัน 2.ไม่ควรเดินอย่างหักโหม 3.ไม่ต้องพยายามเดินเร็วเท่าคนอื่น เนื่องจากสภ่าพร่างกายและความแข็งแรงของแต่ละคนไม่เหมือนกัร 4.ท่าเดิน ไม่ควรก้าวยาวจนเกินไป ควรก้าวสั้นๆแต่ถี่ๆ 5.แกว่งแขนตามธรรมชาติไม่ก้มหรือเงยหน้า 6.สวมรองเท้าที่เหมาะแก่การเดิน สวมใส่สบาย กระชับกับขนาดของเท้า และช่วยลดแรงกระแทกและการบาดเจ็บที่อาจเป็นอันตรายต่อข้อเท้า 7.ก่อนและหลังการเดิน ควรอบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย 8.พกเครื่องนับจำนวนก้าว (pedometer) ติดตัวขณะเดินออกกำลังกาย จำนวนก้าวที่แนะนำคือ 10,000 ก้าว ขึ้นไปจะส่งผลดีต่อร่างกาย การเดิน 12,000-15,000 ก้าว จะช่วยเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นและช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนัก แม้ว่าการเดินเพื่อออกกำลังกายจะง่าย สะดวก และปลอดภัยก็ตาม แต่ก็ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อเท้าและหัวเข่า เนื่องจากการเดินมากๆ จะทำให้ข้อและเข่าเกิดอาการเจ็บปวดได้จำนวนก้าวเดินที่เหมาะสม ของคนแต่ละช่วงวัย เพราะเงื่อนไขสุขภาพและช่วงวัยของแต่ละคนแตกต่างกัน วิธีการเดินเพื่อสุขภาพของคนแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 3 ช่วง ดังนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนให้มีระบบเผาผลาญไขมันในร่างกายได้ดีมากขึ้น 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมได้รับความรู้และทักษะการออกกำลังกายด้วยการเดิน-วิ่ง 3.เพื่อร่วมส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตะเสะ 2.จัดประชุมกลุ่มสตรีตำบลตะเสะเพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯ 3.จัดกิจกรรมให้ความรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการ เดิน-วิ่ง จำนวน 1 วัน 4.จัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง จำนวน 7 วัน 5.จัดกิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ/และปิดกิจกรรม จำนวน 1 วัน 6.รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการต่อกองทุนฯผ่านผู้บริหารท้องถิ่น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คนในชุมชนห้มีระบบเผาผลาญไขมันในร่างกายได้ดีมากขึ้นจากการออกกำลังกาย 2.ได้ส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกายในชุมชน 3.ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความสามารถนำไปปรับใช้กับตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2566 09:44 น.