กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 66-L2514-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัซวานี หะยียะโกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความเป็นมาของการแพทย์แผนไทยนั้น มีความเชื่อพื้นฐานมาจากภูมิปัญญาไทยที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามวิถีพุทธศาสนา กับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยวิธีการผสมผสานไปกับพิธีกรรมทางศาสนา การนวดพื้นบ้าน การใช้สมุนไพรในท้องถิ่นรักษาเมื่อยามเจ็บป่วย ภูมิปัญญาไทยเหล่านี้เป็นมรดกสืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ และมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับระบบนิเวศน์วัฒนธรรมและประเพณี ความเชื่อ การถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาไทยนั้นมีหลักฐานชัดเจนในคำบอกกล่าว บันทึกในใบลาน เป็นต้น ระบบดูแลสุขภาพได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากเดิม ซึ่งมองว่าสุขภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ เจ็บป่วย และผู้ที่เกี่ยวข้องการดูแลสุขภาพได้เน้นเฉพาะหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณะสุข แต่ใน ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพมีความหมายที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทุกเรื่องทั้งในส่วนของวิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจ จิตใจ ครอบครัว ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ การดูแลสุขภาพจึงมีความแตกต่างตาม สภาพปัญหาและความต้องการทางด้านสุขภาพและบริบทของพื้นที่ การดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่ จึงต้อง ให้แต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ของตน เพื่อให้เกิดนโยบายและแนวปฏิบัติของพื้นที่โดยยึดเอาปัญหาและความต้องการทางด้านสุขภาพในพื้นที่เป็นสำคัญ ชุมชนในเขตตำบลลาโละก็ต้องการแก้ไขปัญหาสุขภาพเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการเจ็บป่วยเรื้องรัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การบริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การพึ่งยาและสารเคมีมาก เกินไป เราต้องการให้ชุมชนลาโละเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ลดอัตราปัญหาการเจ็บป่วยต่างๆ ลง โดยนำเอาแนวคิด การแพทย์แผนไทยมาเป็นนวัตกรรมใหม่ในการบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิในชุมชนของเรา การแพทย์แผน ไทย ( Thai Traditional Medicine ) บำบัด รักษา ป้องกันโรค หรือการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือ สัตว์การผดุงครรภ์การนวดไทย และให้ความหมายรวมถึง การเตรียมผลิตยาแผนไทยการประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ทั้งนี้โดยอาศัยความรู้หรือตำรา ที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา การรักษาจึง เป็นไปตามความเชื่อถือ มีทั้งการใช้พิธีกรรม ได้แก่การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์การบวงสรวงเทพเจ้า การเสียเคราะห์ ต่อชะตา การใช้สมุนไพรและการกินอาหารปรับสมดุลของร่างกาย การนวด การอบ การประคบ และการปรับ สมดุลทางจิตด้วยสมาธิ ที่สำคัญเพื่อให้ประชากรในชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญ และหันมาภูมิใจในภูมิปัญญา ในที่บรรพบุรุษได้ใช้ธรรมชาติเหล่านี้มาบริโภคและสามารถป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้จะเห็นได้ว่าการแพทย์แผนไทยสามารถแก้ปัญหาในชุมชนได้ครอบคลุมดังนั้นการแพทย์แผนไทยจึงเป็น นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้ปัญหาด้านสุขภาพของชุมชนนางัวหมดไปและประชาชนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ และแข็งแรง พระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอดีพอควรสมเหตุสมผลและมีความสมดุลเพื่อความสุขและสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสมเหตุสมผลมีภูมิคุ้มกันพึ่งพิงดูแลตัวเองและคนในครอบครัวได้ยั่งยืน การส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกหลานในครัวเรือนได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาเหล่านั้นจึงได้จัดทำ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของภูมิปัญญาไทย ในการดูแลสุขภาพตามวิธีทางการแพทย์แผนไทย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์

ร้อยของผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องสมุนไพร

0.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าให้ตนเอง และสามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้

ร้อยของผู้สูงอายุและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย

0.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

0.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ด้านศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่ผู้สูงอายุ 0 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ รู้จักใช้สมุนไพร และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย 3.เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2566 00:00 น.