กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
รหัสโครงการ 66-L3069-10(1)-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซานูซี วงศ์ปัตน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์ขาดความตระหนักของการฝากครรภ์
56.96
2 หญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้เกี่ยวกับอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
60.00
3 หญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้ในการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์มีโอกาสเสียชีวิตสูง รวมถึงยังมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดทำงานไม่ดี มีภาวะเลือดออกในสมอง มีภาวะเลือดออกในลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า หากทารกรายนั้นมีความพิการ ครอบครัว และภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแล รักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี
จากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร พบว่า ประมาณร้อยละ 50 - 60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือ ภาวะแทรกซ้อน ขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์เหล่านั้น ยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอด ก่อนกำหนด จึงเข้ามารับการรักษาล่าช้าเป็นเหตุให้การยับยั้ง ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไม่ประสบผลสำเร็จ
ด้วยเหตุนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงอันตรายของภาวะคลอดก่อนกำหนดและตัดสินใจไปพบแพทย์โดยเร็ว ส่งผลให้สามารถรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนดได้อย่างรวดเร็วต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงมีครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งครรภ์การฝากครรภ์

หญิงมีครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

56.96 90.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงความอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด

หญิงมีครรภ์มีทราบถึงความอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด

60.00 80.00
3 เพื่อให้หญิงมีครรภ์สามารถดูแลตัวเองได้ในขณะตั้งครรภ์

หญิงมีครรภ์สามารถดูแลตัวเองได้ ไม่เกิดอันตรายต่อตัวเองและบุตรในครรภ์

80.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 20,000.00 1 15,820.00
17 ก.พ. 66 แต่งตั้งคณะทำงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 0 0.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนตั้งครรภ์ และฐานข้อมูลการช่วยเหลือและส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ 0 0.00 -
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 4. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด 0 4,180.00 -
26 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของการคลอดก่อนกำหนด 50 15,820.00 15,820.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงมีครรภ์ตระหนักถึงการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  2. หญิงมีครรภ์ตระหนักถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
  3. หญิงมีครรภ์สามารถดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2566 13:07 น.