กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนคนทำงานรวมใจร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด
รหัสโครงการ 66-L2993-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มีนาคม 2566 - 26 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 69,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรชัย แก้วหนูเดช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.838,101.477place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบันยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มพบมากขึ้นในเด็กและเยาวชน รวมทั้งคนในวัยทำงานซึ่งถือเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติ รวมทั้งมีโทษภัยต่อครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ทำลายความสุขในบ้าน ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ตามมาจนอาจทวีความรุนแรงกลายเป็นอาชญากรรมต่างๆในชุมชน ส่งผลให้สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายในการป้องกันปราบปรามและรักษาผู้ติดยาเสพติดจำนวนมาก ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า ยิ่งปัจจุบันปี 2023 ยิ่งน่าเป็นห่วง เนื่องจากผู้ค้ายาเสพติดมีการใช้ช่องทางออนไลน์ในการจัดจำหน่าย สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องตระหนัก ศึกษาข้อมูล และเข้าใจถึงปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดที่จะส่งผลร้ายแรงอย่างมหาศาลต่อตนเองและผู้อื่นด้วย ข้อมูลจากสภ.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จังหวัดปัตตานี พบว่าปี พ.ศ.2565 ในพื้นที่ตำบลท่าข้ามมีผู้ถูกจับกุมในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดจำนวน 10 ราย มีอายุระหว่าง 23 – 44 ปี ซึ่งถือเป็นวัยทำงานและเป็นกำลังหลักของครอบครัวและชุมชนพัฒนาสังคมและประเทศชาติ อีกทั้งรัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือ ผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชน รวมทั้งคนวัยทำงานจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนรวมทั้งประชาชนวัยทำงาน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง
ดังนั้น เด็กและเยาวชนรวมทั้งวัยทำงานจำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน คนทำงาน โดยผนึกกำลังกับทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของชุมชน สังคม และประเทศชาติ ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

ร้อยละุ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

2 เด็ก เยาวชน และประชาชนได้รับรู้สถานการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับรู้สถานการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

3 เพื่อสร้างเครือข่ายแนวร่วมเด็ก เยาวชนและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สร้างเครือข่ายแนวร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก เยาวชนและประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดอย่างเหมาะสม 2.ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาในโรงเรียน สถานประกอบการ นักเรียนและประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้ 3.สร้างแกนนำเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในโรงเรียนและชุมชน 4.เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดในโรงเรียน ในชุมชนสามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2566 15:24 น.