กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่นสดใส ไม่ท้องก่อนวัย ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3061-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2566 - 1 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเจะฟาตีฮะห์ เจะและ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลกรมอนามัยรายงานการคลอดในประเทศไทย พบว่าในปี 2559 มีจำนวนเด็กที่คลอดจากแม่วัยรุ่น อายุ 10-19 ปี คิดเป็นร้อยละ 15 ของการคลอดทั้งหมด สูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็น 13 เท่าของสิงคโปร์ สืบเนื่องจากส่วนใหญ่เยาวชนไม่มีความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ขาดทักษะชีวิติ ไม่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจของตนเอง และสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือความเจริญของเทคโนโลยี สื่อที่ทันสมัย ที่เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ประกอบกับระบบขัดเกลาทางสังคมระดับครอบครัวอ่อนศักยภาพลง เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพ และคาดหวังว่าระบบการขัดเกลาของสถาบันการศึกษาสามารถทำหน้าที่ทดแทนครอบครัวได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วครอบครัวอ่อนศักยภาพลง เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพ และคาดหวังว่าระบบการขัดเกลาของสถาบันการศึกษาสามารถทำหน้าที่แทนครอบครัวได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ครอบครัวยังคงมีบทบาทสำคัญที่ต้องดูแลและขัดเกลาบุตรหลาน และปัญหาดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไข ปัจจุบันพบว่าเด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย คือ ประมาณ 12 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและความรับผิดชอบของตัวเอง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การติดเชื้องทางเพศสัมพันธ์ (HIV) การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้ง มีน้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม และยังมีผลต่อการออกจากโรงเรียนกลางคัน รวมทั้งการไม่พร้อมต่อการเลี้ยงลูก กระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นแรงงานราคาถูก ครอบครัวแตกแยก และยังอาจจะเกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย สำหรับพื้นที่ในตำบลเกาะเปาะ พบว่าได้มีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอยู่เป็นจำนวน 5 ราย และพบว่ามีการตั้งครรภ์ซ้ำเพิ่ม 1 ราย จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบุูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนในอนาคต ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ จึงร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเกาะเปาะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ โรงเรียนในพื้นที่ จึงจัดทำโครงการวัยรุ่นสดใส ไม่ท้องก่อนวัย ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ค่านิยมใหม่ให้กับวัยรุ่นไทย ให้รู้จัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคที่มาจากเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลงและให้เยาวชนได้ซึมซับเรื่องหลักศาสนาอิสลามเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตที่ถูกต้องห่างไกลปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างภูิมคุ้มกันให้เด็กวัยเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

1.ร้อยละ 80 เด็กวัยเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

70.00 80.00
2 2.เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น

2.ร้อยละ 80 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์

50.00 70.00
3 3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและนำหลักคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

3.ร้อยละ 80 เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและนำหลักคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 27,000.00 2 0.00
31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 ละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม 80 17,200.00 0.00
1 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเป้าหมาย 80 9,800.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ 2.เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะห่างไกลจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และลดจำนวนการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566 11:47 น.