กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข้าสุนัตในเยาวชนมุสลิมตำบลธารคีรี ประจำปี 2566
รหัสโครงการ ?
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการมัสยิดสุโสะ
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 พฤษภาคม 2566 -
กำหนดวันส่งรายงาน 4 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 93,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายตอเละ ยะลอหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การศึกษาวิจัยพบว่า การเข้าสุนัตหรือการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีผลดีทางการแพทย์บางอย่าง เช่นโอกาสที่จะติดโรคทางเดินปัสสาวะน้อยมาก เด็กที่ไม่ได้ตัดหนังหุ้มปลายองคชาติจะมีโอกาสไตอักเสบเป็น ๑๐ เท่าของเด็กที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตั้งแต่ตอนเป็นทารกแม้แต่การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศในตอนเป็นผู้ใหญ่ก็ยัง ป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ สำหรับไตแล้ว การติดเชื้อเป็นอันตรายที่สุดในสามเดือนแรกซึ่งในระหว่างนี้ผู้ป่วยมักจะต้องไปโรงพยาบาลและอาจจะมีผลติดเชื้อรุณแรงอย่างอื่นติดตามมา การทำงานของไตและการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติสามารถเกิดขึ้นกับการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียจากสิ่งสกปรกที่หมักหมมอยู่ภายใต้หนังหุ้มปลายองคชาตก็อาจนำไปสู่การการติดเชื้อของไตได้เช่นกัน ผู้ชายที่เข้าสุหนัตแทบจะไม่เป็นมะเร็งที่อวัยวะเพศเลย การติดเชื้อที่หนังหุ้มปลายองคชาตสามารถเกิดได้กับผู้ชายที่ไม่เข้าสุหนัตในอายุเท่าใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในตอนอายุ ๒ – ๕ ปี ซึ่งเป็นวัยที่หนังหุ้มปลายองคชาตยังแยกไม่หมด ดังนั้นจึงไม่สามารถถลกให้เปิดออกให้เต็มที่เพื่อทำความสะอาด นอกจากนั้นแล้วเด็กเองก็ไม่สามารถทำความสะอาดให้ตัวเองได้ในที่สุดก็จะต้องไปตัดเอาในตอนหลังซึ่งเสียค่าใช้จ่ายแพง ด้วยเหตุนี้ การทำสุนัตให้แก่เด็กตั้งแต่เกิดมาจึงทำให้สามารถรักษาความสะอาดได้ตลอดชีวิต การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าคนที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีอัตราการเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศน้อยมาก ส่วนผู้ชายที่ไม่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศนั้นมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่า เพราะในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางเพศนั้นหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศสามารถถลอกหรือเป็นแผลเล็กๆ ที่ทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปในบาดแผลนั้นได้เป็นที่คาดกันว่าหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอาจปล่อยให้ไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆ สามารถอยู่รอดได้ยาวนานกว่าที่อยู่ข้างนอกและมีเวลามากกว่าที่จะเข้าไปในร่างกาย เมื่อเร็วๆนี้มีการพบว่าเซลล์บางอย่างในหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศสามารถที่จะดักไวรัสเอชไอวีและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะพิเศษที่คนทั่วไปรู้จักกันในคำว่า “เข้าสุนัต” หรือที่ศัพท์ภาษามลายูท้องถิ่นใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของเราเรียกว่า “มาโซ๊ะยาวี” นั้นเป็นกระบวนการผ่าตัดทางด้านการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันมายาวนานแล้วเพราะเป็นที่ปฏิบัติกันอย่างยาวนานแล้วเพราะเป็นที่ปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นพิธีกรรมทางศาสนาทางคณะกรรมการมัสยิดบ้านสุโสะ จึงได้จัดโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม ประจำปี ๒๕๖ู๖ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 ดำเนินการรับสมัครเยาวชนมุสลิมตำบลธารคีรีสมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน 3.2 เข้าสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) โดยแพทย์ พยาบาลที่มีใบประกอบโรคศิลป์ถูกต้องตามกฎหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 เด็กและเยาวชน ได้รับการเข้าสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) โดยแพทย์ พยาบาลที่มีใบประกอบโรคศิลป์ถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือปราศจากเชื้อที่มีคุณภาพทำให้ไม่เกิดการติดเชื้อ 6.2 เด็กและเยาวชนเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลแผลด้วยตนเองที่บ้านลดการติดเชื้อหลังขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566 00:00 น.