กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ได้รับวัคซีนตามวัย ห่างไกลฟันผุ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3011-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรัฐทวี อีซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติ ทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัวและสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจาก ช่วงวัยต้นของชีวิต คือ เด็ก 0-5 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่สำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยที่มี การเจริญเติบโตและพัฒนาเร็วมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดของเด็กคือพัฒนาการทางสมอง เป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อมากกว่าวัยอื่นและเป็นวัยที่การพัฒนาบุคลิกภาพที่สำคัญอันจะเป็นรากฐานของบุคลิกภาพที่ดีต่อไปในอนาคต เป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เด็กวัย 0-5 ปีมีสุขภาพดีนั้น ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและควบคุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การเจริญเติบโตสมส่วนตามวัย พัฒนาการด้านสมองดามวัย การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ให้มีฟันผุ และรับวัคซีนครบตามกำหนดจากการสำรวจพบว่า ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอมและเด็กเตี้ยสูงกว่าเกณฑ์ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ และพบว่ามีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ ต่ำที่สุดในประเทศไทย เรื่องวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีนและเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

ร้อยละ 80 ของเด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

0.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลตะลุโบะ ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

0.00 80.00
3 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้องและมีคุณภาพ

ร้อยละ 80 ของครูและผู้ปกครองมีการดูแลเด็กได้ถูกต้องและมีคุณภาพ

0.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ห้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง - การดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก - การรับวัคซีนในแต่ละช่วงอายุของเด็ก 0-5 ปี 0 11,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กมีสุขภาพฟันและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงห่างไกลจากโรค 2.ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กได้อย่างมีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566 16:23 น.