กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก สู่โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่ 2,500 วัน ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3005-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลลางา
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 67,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟาฎีลาห์ ปอโต๊ะซิ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุรวุฒิ อโณทัย
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 205 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
4.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
5.00
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย
3.00
4 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
5.00
5 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเตรียมความพร้อมของสตรีระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด ไปจนเด็กอายุ 2 ปี จะเป็นตัวกำหนดสุขภาพและโรคในอนาคตได้ จึงต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดี ตั้งแต่ 1,000 วันแรกของชีวิต ร่วมกับการมีสุขาภิบาลที่ดี มีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง การดูแลสุขภาพช่องปาก การกอด การเล่น การนอน การอ่าน การเล่านิทาน เป็นผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพสูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ ระดับเชาวน์ปัญญา พัฒนาการเรียนรู้ การเข้าสังคม จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาเด็กให้สุขภาพและศักยภาพที่ดีในอนาคตและเป็นการสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในการก้าวสู่ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนการตั้งครรภ์เป็นระยะที่มีการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆเกิดขึ้นมากว่าปกติ เพราะอัตราการเติบโตของทารกในครรภ์สูงกว่าระยะอื่นๆของชีวิต ความต้องการสารอาหารและพลังงานระหว่างตั้งครรภ์จึงมีมากกว่าระยะอื่นๆ ถ้ามารดาได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในปริมาณที่เพียงพอ มารดาจะมีสุขภาพสมบูรณ์และให้กำเนิดทารกที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้าม ถ้ามารดารับประทานอาหาร ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอมักทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เด็กคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง โลหิตเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อย ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กต่อไปในอนาคต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงรับนโยบายและขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ในพื้นที่ตำบลลางา โดยเริ่มจากการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายมารดาและทารกในพื้นที่ตำบลลางา จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ข้อมูลร้อยละของทารกแรกเกิด น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ลางา ปีงบประมาณ จำนวนทารกแรกเกิด(คน) จำนวนทารกแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 2562 10254.90 2563 10132.97 25647245.56 25658722.29 25669244.3 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก สู่โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่ 2,500 วัน ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด มีภาวะโภชนาการที่ดีส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อันจะส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัยซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. หญิงวัยเจริญพันธ์มีความพร้อมในการตั้งครรภ์และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขณะตั้งครรภ์

1.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ 2.หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในการดูแลตัวเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

1.00 1.00
2 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

1.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวได้รับการอบรมตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ครบ ร้อยละ 100 2.แบบทดสอบก่อนหลังอบรมให้ความรู้ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

1.00 1.00
3 3. หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักขึ้นปกติตามเกณฑ์

1.หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 2.เกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 10

1.00 1.00
4 4. ทารกแรกเกิดน้ำหนักผ่านเกณฑ์

1.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 10

1.00 1.00
5 5. เพื่อให้เกิดเครือข่ายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

1.มีเครือข่ายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสามารถช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน 2.แบบทดสอบความรู้ ก่อน หลังการอบรม

1.00 1.00
6 6 . หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมตามเกณฑ์และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

1.ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด ร้อยละ 100 2.ได้รับการส่งเสริมสุขภาพหลังคลอด ร้อยละ 100

1.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 67,320.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 เม.ย. 67 จัดประชุมชี้แจงแผนปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็กเชิงรุก หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและน้ำหนักตัวน้อย BMI ต่ำกว่าเกณฑ์ และหญิงหลังคลอด เพื่อขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่ 2,500วัน ปี 2567แก่เจ้าหน้าที่และอสม. จำนวน 66 คน 0 7,920.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 เตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธ์ในการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ 0 1,000.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวได้รับความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ 0 28,400.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 ส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ 0 18,000.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 การติดตามเยี่ยมหลังคลอด 100 ราย 0 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ดี 2.ทารกแรกเกิดน้ำหนักผ่านเกณฑ์ 3.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลด้านโภชนาการในตนเองและทารก 4. หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมตามเกณฑ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 10:31 น.