กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หมู่1 บ้านแบรอ ตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3011-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 33,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอปา อีซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 ที่มา : ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่แพร่ระบาดอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงในประเทศ ทั้งในด้านอาชญากรรม เศรษฐกิจและสังคมต่างๆ มากมาย ซึ่งบั่นทอนความสามารถในการพัฒนาประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้ โดยปัญหายาเสพติดในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกไร้พรมแดนได้มีการปรับเปลี่ยนไปทั้งในลักษณะประเภทของยาเสพติด กลุ่มเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด และความสามารถในการเข้าถึงยาเสพติดได้โดยง่ายทั้งในฐานะผู้ค้าและผู้เสพ ซึ่งทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดทำได้ยากลำบากมากขึ้น 1.2 สภาพปัญหา : ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID – 19 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 – 4 มกราคม 2565 จังหวัดปัตตานี คือ มีผู้เข้ารับการบำบัด จำนวน 2,433 ราย จำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 98.27 เพศหญิง ร้อยละ 1.73 จำแนกความนิยมของการใช้ยาและสารเสพติด คือ ยาบ้า ร้อยละ 56.76, กระท่อม ร้อยละ 31.15, เฮโรอีน ร้อยละ 6.86, กัญชา ร้อยละ 2.59 ยาไอซ์และสารระเหยอื่นๆ 2.64 จำแนกกลุ่มผู้ป่วยเป็นผู้ใช้ ผู้เสพและผู้ติด ร้อยละ 2.67, 51.58 และ 45.75 ตามลำดับจำแนกช่วงอายุที่ใช้สารเสพติดมากที่สุด คือ ช่วงอายุ ๑๘ – ๒๔ ปี คิดเป็นร้อยละ 26.88,อายุ ๒๕ – ๒๙ ปี ร้อยละ 24.33, อายุ ๓๐ – ๓๔ ปีร้อยละ 19.24, และมากกว่าอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ร้อยละ 12.00 จำแนกตามกลุ่มอาชีพ รับจ้าง/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 66.16, การเกษตร/ค้าขาย ร้อยละ 15.56, ว่างงาน ร้อยละ 11.24, นักศึกษาและอื่นๆ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า กลุ่มเยาวชนเป็นผู้เสพมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและประกอบอาชีพรับจ้าง/ใช้แรงงาน ยังมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดเพิ่มขึ้น พบในกลุ่มอายุที่น้อยลง โดยเฉพาะอำเภอเมืองปัตตานี เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว สถานศึกษา และสถานประกอบการจำนวนหลายแห่ง ทำให้มีเยาวชนที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหายาเสพติดจำนวนมาก
1.3 ความเร่งด่วน / ผลที่คาดหวัง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบำบัดรักษา ติดตามและให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดและป้องกันไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ คืนคนดีสู่สังคม เพื่อให้ครอบครัว ชุมชนมีความสุขปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดจึงจัดทำโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หมู่1 บ้านแบรอตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อเป็นกระบวนการหนึ่งในการขับเคลื่อนศักยภาพเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรอง เด็ก เยาวชน ประชาชนโดยทั่วไป และจูงใจให้ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการดูแลสร้างภูมิคุ้มกันโดยการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตลอดจนได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นได้อย่างทันท่วงที

ร้อยละ ๘0 ผู้ปกครองและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องยาเสพติด

0.00 80.00
2 รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดเพื่อลดอัตราการเกิด ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในรายใหม่ และรณรงค์ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดให้เข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูในชุมชนเป็นศูนย์กลาง

กลุ่มเป้าหมายผู้ติดยาเสพติดเข้ากระบวนการบำบัด
ร้อยละ 80

0.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติด ในระบบบำบัดฟื้นฟูในชุมชนเป็นศูนย์กลางไม่กลับไปเสพซ้ำ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้อย่างปกติสุขเหมือนบุคคลทั่วไป

ร้อยละ 80 ผู้ผ่านการบำบัดสามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้อย่างปกติสุข

0.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,200.00 0 0.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องของการค้นหา การคัดกรองและการติดตามผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน (กลุ่มผู้ปกครอง) 0 7,900.00 -
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด 0 8,500.00 -
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้กลุ่มบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบกระบวนการบำบัดและฟื้นฟูในชุมชน 0 6,150.00 -
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมเครือข่าย(อสม./ผรส.)เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด 0 4,400.00 -
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชุมติดตามผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด(เครือข่ายติดตามผู้บำบัด จำนวน 20 คน / ผู้เข้ารับการบำบัด จำนวน 30 คน 0 6,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่ผ่านการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตและสามารถลด ละ เลิก เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้
  2. มีองค์กรต้นแบบ (นำร่อง) ปลอดยาเสพติด และมีเครือข่ายในการร่วมมือร่วมใจต่อต้าน เอาชนะภัยยาเสพติดในชุมชน
  3. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดมากขึ้น และลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน รวมทั้งสามารถลดอัตราการเกิดผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดรายใหม่ในชุมชนได้
    1. ปัญหาทางสังคมลดลง ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนปลอดภัยจากปัญหาอาชญากรรมและลักขโมย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 14:26 น.