กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร เดือนรอมฎอน ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 (ประเภทที่1)
รหัสโครงการ 66-L7884-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมรงสิริ มะนีวัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ ความดีงาม เดือนแห่งความอดทน เพื่อปฏิบัติตามวิถีมุสลิม ในการละเว้นการบริโภคอาหารเป็นระยะเวลา 1 เดือน และเป็นการยึดหลักความเสมอภาคกัน ทำให้วิถีชีวิต    ของชาวมุสลิมในการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป โดยจะมีการบริโภคอาหารหลัก 2 เวลา คือ มื้อแรกก่อนรุ่งอรุณ และมื้อสองหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเพื่อดำเนินกิจกรรม ตามหลักศาสนา การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนละศีลอด เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงลดการเจ็บป่วย และด้วยสภาพสังคมปัจจุบันในเดือนถือศีลอดมีประชาชนและข้าราชการ ที่ทำงานในพื้นที่ (เขตเทศบาลเมืองปัตตานี) และอาศัยอยู่ต่างถิ่น ในช่วงเย็น      เพื่อละศีลอด ไม่มีเวลาที่จะประกอบอาหาร ด้วยสภาพที่เร่งรีบ รวดเร็ว จึงจำเป็นที่จะต้องซื้ออาหารสำเร็จรูป      เพื่อละศีลอด ด้วยสภาพที่ต้องรีบกลับบ้าน อาจไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของอาหารมากนัก เช่น ช่วงเวลา            ที่ผู้ประกอบการปรุง อาหารค้างมื้อ และด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล ฯลฯ จึงทำให้อัตราการเกิดโรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย คือ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่ไม่สะอาด      มีการปนเปื้อน เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษได้บ่อย ได้แก่ สารพิษของแบคทีเรีย การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส      และพยาธิ โดยการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ พบได้จากการที่คนจำนวนมากรับประทานอาหารร่วมกัน      และมีอาการอย่างรวดเร็วหลังจากรับประทานอาหารแล้ว รองลงมา คือ การรับประทานของดิบหรือวัตถุดิบเสียและจากการรับประทานอาหารค้างมื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร            จากรายงานโรคระบาดวิทยา (รง.506/507) จังหวัดปัตตานี พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea) ในปี 2563 จำนวน 5,507 ราย และ ในปี 2564 จำนวน 3,695 ราย และโรคอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ในปี 2563 จำนวน 178 ราย และ ในปี 2564 จำนวน 93 ราย จากการดำเนินงานเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอน ในปี 2565 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบริเวณถนนปากน้ำ ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลสะบารัง และบริเวณชุมชนวอกะห์เจ๊ะหะ ถนนยะรัง ตำบลจะบังติกอ พบผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารช่วงเดือนรอมฏอนประมาณ 190 ร้าน จากการประเมินคุณภาพ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามข้อกำหนด 12 ข้อ ผ่านเกณฑ์จำนวน 169 ร้าน และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 21 ร้าน ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมิน ดังนี้ 1.ภาชนะใส่อาหารไม่มีการปกปิด 2.ใช้มือในการหยิบจับอาหาร    3.การล้างวัตถุดิบไม่สะอาด 4.วางวัตถุดิบบนพื้น ความไม่สะอาดของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้ รวมทั้งอาจเกิดจากความไม่สะอาดของสถานที่ เมื่อประชาชนรับประทานอาหารนั้นเข้าไป ย่อมก่อให้เกิดการเจ็บป่วย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพในทันที นอกจากนี้ผู้ประกอบการเดิมยังขาดความตระหนักด้านสุขาภิบาลอาหารตามมาตรฐานของกรมอนามัยกำหนด ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการ    เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร เดือนรอมฎอน ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหาร      ที่ปลอดภัย อันส่งผลให้ประชาชน ได้บริโภคอาหารที่ปราศจากสารปนเปื้อนและสะอาดปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ และเกิดความตระหนักในการประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ 2.เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย

1.ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร 2.ร้อยละ 80 ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 2.1 ขั้นตอนวางแผนงาน - ประชุมคณะทำงาน พร้อมวางแผนการดำเนินงาน เช่น กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กำหนดกฏกติกา และรูปแบบวิธีการดำเนินการโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน   - สำรวจสถานที่และกำหนดผัง
- ประชาสัมพันธ์/รับสมัครผู้ประกอบการ/ลงทะเบียน พร้อมเชิญอบรมในวันที่ได้กำหนด   - จัดอบรมผู้ประกอบการ เรื่อง การให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร อาหารฮาลาล และกำหนดกฏกติกาในการจำหน่ายเป็นต้น - ลงพื้นที่ เพื่อจัดล็อคพื้นที่จำหน่าย   - ตรวจประเมินมาตรฐานแผงลอย พร้อมเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย   - ดำเนินการดูแลรักษาความสะอาดในพื้นที่จำหน่าย 2.3 ขั้นสรุปผล - กิจกรรมสรุป การถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารใน        เขตเทศบาลเมืองปัตตานี และการจัดทำรายงาน - สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการสามรถนำความรู้ไปปฏิบัติในการประกอบอาหารที่ ถูกสุขลักษณะ ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัย ตลอดจนเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 16:21 น.