กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมแรงร่วมใจดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงที่จำเป็นต่อสุขภาพ ปี 2566 (ประเภทที่1)
รหัสโครงการ 66-L7884-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 305,254.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอสีด๊ะ รัศมิมานโชติวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุอย่างกว้างขวางและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างดังกล่าวจะเกิดอัตราส่วนภาวะพึ่งพาและพึ่งพิงของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างหลักประกันให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีมาตรฐานและเท่าเทียมกัน ส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย คือ การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน จึงเป็น กลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดเวลาการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้ปริมาณงานและค่าใช้จ่ายในภาพรวมลดลงโดยเน้นการจัดบริการสุขภาพแบบผสมผสานให้กับประชาชนทุกกลุ่มอายุ โดยมีการวางแผนการดูแลร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้เกิดกระบวนการการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้ดูแล/ญาติสามารถปฏิบัติการดูแลได้เหมาะสมป้องกันการเจ็บป่วยซ้ำ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ฟื้นหายหรือทุเลาจากความเจ็บป่วย มีสุขภาวะที่ดีที่สุดตามศักยภาพที่มีอยู่หรือใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด สามารถพึ่งตนเองได้ภายใต้บริบทและสภาพแวดล้อมของครอบครัว โดยมีครอบครัวร่วมให้การดูแลช่วยเหลือ มีเครือข่ายติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลาเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะเห็นได้ว่าบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเฉพาะในรายที่จำเป็นต้องใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับการขับถ่าย และผ้าอ้อมทางเลือก เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ควรให้การสนับสนุน เพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสาธารณสุขในชุมชนอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมติให้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับการขับถ่าย และผ้าอ้อมทางเลือก เป็นชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและเพิ่มมากขึ้น
กลุ่มงานการพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการร่วมแรงร่วมใจดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงที่จำเป็นต่อสุขภาพ ปี2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงทุกกลุ่มอายุ ทุกสิทธิ ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ได้รับการบริการดูแล ระยะยาวด้านสาธารณสุขตามแผนการดูแล รายบุคคล (Care plan) โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้ดูแล
  1. ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงทุกกลุ่มอายุ ทุกสิทธิในเขต   พื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี มีความพึงพอใจ   ร้อยละ 80
  2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่บ้านไม่เกิน   ร้อยละ 5
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ขั้นเตรียมการ 1.1) สำรวจผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงทุกกลุ่มอายุ ทุกสิทธิ ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ตามความต้องการบริการด้านการสาธารณสุข
1.2) จัดทำ Care plan และปรึกษาปัญหารายกรณีร่วมกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง(care conference)เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอโครงการจัดบริการดูแลระยะยาว 1.3) จัดทำโครงการและข้อเสนอโครงการพร้อมสรุปแผนการดูแลรายบุคคล ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบริการดูแลระยะยาวต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงทุกกลุ่มอายุ ทุกสิทธิในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี มีความพึงพอใจร้อยละ 80
  2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่บ้านไม่เกินร้อยละ 5
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 16:42 น.