กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อ บ้านปาเต๊ะ
รหัสโครงการ 66-L5303-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ตำบลเจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 34,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 พ.ย. 2565 30 ก.ย. 2566 34,000.00
รวมงบประมาณ 34,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 310 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก ในอดีตปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบันและในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรม รวมถึงในชุมชนมักเกิดปัญหาสุขภาพของผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้พิการในชุมชนมากขึ้น จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย ประกอบกับข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและผู้พิการด้อยโอกาสในเขตรับผิดชอบบ้านปาเต๊ะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ครอบคลุมทั้งในระดับตัวบุคคล ในครอบครัว และในชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ รวมถึงการช่วยดูแลผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือจากความพิการอื่นๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว กระจายการดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุมกลุ่มด้อยโอกาสในชุมชน โดยส่งเสริมให้มีความรู้ ทักษะในการดูแลตนเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3อ.2ส. เป็นหลัก หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นและรวมไปถึงให้การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาวะในทุกด้านและส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งกาย จิต สังคมอย่างยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดี     ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านปาเต๊ะเหนือ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมและป้องกันโรคให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อ บ้านปาเต๊ะ ปีงบประมาณ 2566 เพื่อสร้างกระบวนการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การดูแลสุขภาพในทุกกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไม่ติดต่อ กระตุ้นเครือข่ายในชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามเกณฑ์ฯ

1 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามเกณฑ์ฯ ร้อยละ 90

90.00
2 2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและเปิดโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคด้วยหลัก 3อ2ส

2.1 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรู้ฯและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ร้อยละ 80       2.2 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการส่งเสริมความรู้ฯและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ร้อยละ 80

80.00
3 3 เพื่อส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนเพิ่มขึ้น

๓ ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในการดูแลสุขภาพอย่างน้อย 2ครั้งต่อปี

80.00
4 4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

4 กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
21 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมส่งเสริมการมีความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคด้วยหลัก 3อ2ส 25 17,250.00 17,250.00
50 34,000.00 2 34,000.00
21 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 คัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน 25 16,750.00 16,750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามเกณฑ์ฯ ได้แก่ โรคเบาหวาน
    โรคความดันโลหิตสูง
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
    ลดโรคด้วยหลัก 3อ2ส เพิ่มขึ้น
  3. ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนเพิ่มขึ้น
  4. กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการติดตามดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้พิการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 09:55 น.