กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข บ้านปาเต๊ะ
รหัสโครงการ 66-L5303-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)หมู่ที่ 6 ตำบลเจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 10,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 พ.ย. 2565 30 ก.ย. 2566 10,750.00
รวมงบประมาณ 10,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ของประเทศไทย พบการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคต่างๆ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง และอุบัติต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ พบปัญหาที่สำคัญใน 6 กลุ่มโรค ดังนี้ คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม) กลุ่มผู้สูงอายุ(การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ)กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มจิตเวช ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ขาดการมีส่วนร่วมทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นแนวทางการดูแลสุขภาพทีใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย การที่ประชาชนมีความรู้ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและการได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายที่เข็มแข็งทำให้สามารถดำรงชีวิตและมีทักษะในการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัยและลดการเจ็บป่วยด้วยโรคได้ ในปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาเต๊ะ ได้ดำเนินการรณรงค์สร้างกระแสความรู้ด้านสุขภาพ คักกรองกลุ่มเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเสริมสร้างพลังความเข็มแข็งในประชาชนทุกกลุ่มวัย และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถลดการเจ็บป่วยรายใหม่ได้ และโรคที่ยังเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน และมีผลต่อสุขภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว มีเเนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อที่เกิดขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น หากมีโรคหรือความเจ็บป่วยที่ไม่อาจควบคุมได้ ผลกระทบอาจเกิดขึ้นกับตนเองที่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยครั้ง สูญเสียค่าใช้จ่ายในครอบครัวไปกับการรักษาโรค ทำให้เกิดปัญหาในครอบครัว ความสมบูรณ์ของครอบครัวจะลดความสำคัญลง แต่มุ่งที่จะรักษาตนเองจากภาวะเจ็บป่วยแทน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องมีการแก้ไขและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการครอบครัวและดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมความรู้ให้กับเครือข่ายที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบด้านสุขภาพในชุมชน ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดประชาชนกลุ่มดังกล่าวมากที่สุด นั่นคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่คอยดูแลประชาชนทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และหากมีความรู้เพียงพอและได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง จะเป็นผู้มีความรู้ที่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่องแทนเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านปาเต๊ะเหนือ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมดูแลประชาขนในทุกช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข บ้านปาเต๊ะปีงบประมาณ 2565 เพื่อพัฒนาเครือข่ายในชุมชนให้มีความรู้และสามารถดูแลประชาขนให้มีสุขภาพดีได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ประเมินดัชนีมวลกาย และส่งเสริมสุขภาพตามวัย

1 กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพฯเรื่องการดูแลสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกาย และ ส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพตามวัย มากกว่าร้อยละ 80

80.00
2 2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค3อ2ส

2 กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพฯเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค3อ2ส มากกว่าร้อยละ 80

80.00
3 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้เรื่อง การคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

3 กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพฯเรื่องความรู้ การคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก มากกว่าร้อยละ 80

80.00
4 4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้เรื่อง การคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

4 กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพฯเรื่องความรู้ การคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก มากกว่าร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย (อสม.) 60 10,750.00 10,750.00
รวม 60 10,750.00 1 10,750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว การส่งเสริมสุขภาพตามวัย และโรคไม่ติดต่อในชุมชน
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถให้การดูแลและส่งเสริมสุขภาพประชาชนแต่ละกลุ่มวัย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3อ2ส ได้อย่างเหมาะสม
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และสามารถภาวะเสี่ยงเบื้องต้นได้และได้รับการคัดกรองได้ครอบคลุม
  4. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและได้รับการดูแลต่อเนื่องตามเกณฑ์
  5. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 10:01 น.