กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำและอาหารปลอดภัยในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L5303-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2565 30 ก.ย. 2566 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาชุด เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนเปื้อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคที่ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย ซึ่งกระทรวงมีนโยบายและมาตรการการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหารอาหารและผู้ปรุงอาหาร ต้องรักษาความสะอาดและสุขลักษณะ ตำบลเจ๊ะบิลังเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ มีสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้าน ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย
    ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำและอาหารปลอดภัยในชุมชน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕66 โดยการพัฒนาศักยภาพแก่เครือข่ายสุขภาพชุมชน ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหารและแผงลอย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้บริโภคในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและสถานที่จำหน่ายอาหาร จะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องในเรื่องมาตรการสุขาภิบาลอาหารและการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19

1.เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ข้ารับการอบรม ร้อยละ 80 2.เครือข่ายสุขภาพเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมาตรการสุขาภิบาลอาหารและการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหาร  เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและสถานที่ประกอบการร้านอาหารแผงลอย โรงอาหาร ตลาดสด ร้านชำ ในพื้นที่ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19

2.สถานที่ประกอบการร้านอาหารแผงลอย  โรงอาหาร ตลาดสด ร้านชำ ได้รับการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหาร ร้อยละ 80

80.00
3 ๓. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน

3.สถานประกอบการร้านอาหารผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ 80 4.ร้านชำผ่านการตรวจสอบสารปนเปื้อนร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องในเรื่องมาตรการสุขาภิบาลอาหารและการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและสถานที่ประกอบการร้านอาหารแผงลอย โรงอาหาร ตลาดสด ร้านชำ ในพื้นที่ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ๓. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายสุขภาพ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้บริโภคและผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหาร ตลาดสด ร้านชำ ในพื้นที่ 60.00 15,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากดำเนินโครงการ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมาตรการสุขาภิบาลอาหารและการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สถานประกอบการมีการการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและสถานที่ประกอบการร้านอาหารแผงลอย โรงอาหาร ตลาดสด ร้านชำ และประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 10:10 น.