กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1485-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเสาวภา แซ่จั่ง ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิการ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู้ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และมีปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรมีระดับความไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงส่งผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง และส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคได้
  ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็นตำบลหนึ่งที่ประชาการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม ไร่อ้อย ปลูกพืชผลทางเกษตรกรรม ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองสารเคมีในเลือดกลุ่มเกษตรขึ้นเพื่อเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงชุมชนบ้านลำแคลง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับพิษจากสารเคมี

เกษตรกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้เรื่องพิษจากสารเคมี และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

2 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในการใช้สารเคมี

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างร้อยละ 80

3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

เกษตรกรที่มีภาวะเสี่ยงสารเคมีสะสมในโลหิต ได้รับการดูแล และรับยาสมุนไพรรางจืดเพื่อกำจัดสารพิษในโลหิต ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูลกำหนดเป้าหมายและกิจกรรม
  2. เขียนโครงการเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ   3. จัดอบรมให้ความรู้และดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดในการประกอบอาชีพ   4. จัดทำเล่มทะเบียนผลการตรวจหาสารเคมีในเกษตรกรประจำปีงบประมาณ 2566 และรายงานผลการดำเนินโครงการ เมื่อโครงการเสร็จสิ้น
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ ได้รับความรู้เรื่องเกี่ยวกับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ ร้อยละ 80
  2. เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพได้รับการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง ร้อยละ 80 และได้รับการดูแลรักษาด้วยยาสมุนไพรรางจืด เพื่อกำจัดสารพิษในโลหิต ร้อยละ 100
  3. ได้ทราบถึงสถานการณ์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 15:57 น.