กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ”
รหัสโครงการ 66-L1485-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านลำแคลง
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 12,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนารถยา มีจันทร์ (ครู)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 154 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคติดต่อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ ทั้งโรคติดต่อประจำถิ่น และโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และโรคที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรคหัด หัดเยอรมัน นอกจากจะติดต่อผ่านการหายใจเอาเชื้อเข้าไปแล้ว การที่มือไปสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกันกับบุคคลอื่น หรือเครื่องใช้ในที่สาธารณะ โรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิดอหิวาตกโรค โรคพยาธิชนิดต่างๆซึ่งติดต่อได้จาการที่มือปนเปื้อนเชื้อเหล่าแล้วหยิบจับอาหารเข้าไป โรคติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง เช่น โรคตาแดง โรคเชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง
โรคติดต่อได้หลายทาง เช่น อีสุกอีใส อาจติดต่อได้จาการหายใจและสัมผัสโรคติดเชื้อเหล่านี้ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ มาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพที่แออัด หรือมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ รวมถึงการรักษาสุขภาพเบื้องต้น ดังนั้น เพื่อให้ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้าน      ลำแคลงทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการอนามัยโดยเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงโรคระบาด หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโรงเรียนบ้านลำแคลง หมู่ที่ ๔ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนบ้านลำแคลงมีความรู้ และสามารถทำสบู่เหลวล้างมือ และเจลแอลกอฮอล์ใช้ในโรงเรียน

 

2 ๒. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการล้างมือที่ถูกต้อง ๗ ขั้นตอน

 

3 ๓. เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียน ครูและบุคลากรในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ และลดอัตราการเกิดโรคติดต่อภายในโรงเรียน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ     ๒. เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ     ๓. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการอบรม       ๔. จัดทำสบู่เหลวล้างมือ เจลแอลกอฮอล์     ๕. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนบ้านลำแคลงมีความรู้ และสามารถทำสบู่เหลวล้างมือ และเจลแอลกอฮอล์ไว้ใช้เองในโรงเรียน
    ๒. มีความรู้เกี่ยวกับการล้างมือที่ถูกต้องตามหลัก ๗ ขั้นตอน     ๓. นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านลำแคลงเกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ และมีอัตราการเกิดโรคติดต่อภายในโรงเรียนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2566 09:56 น.