กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L1485-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 11,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.กนกพร ส่องแสง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโต ได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ(โรคไข้หวัดใหญ่ สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ปี 2564 พบผู้ป่วย 10,384 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 15.66 ต่อแสนประชากร ,โรคโควิด-19 สถานการณ์โรคโควิด-19 ปี 2565 พบผู้ป่วยยืนยัน 2,457,874 ราย เสียชีวิต 11,066 ราย) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) (สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2564 พบผู้ป่วย 8,754 ราย อัตราป่วย 13.17 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 6 ราย) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) (สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในประเทศไทยปี 2563 พบผู้ป่วย 802,637 ราย เสียชีวิต 4 ราย )และโรคติดต่ออื่นๆ (โรคฉี่หนู (สถานการณ์โรคฉี่หนูในประเทศไทย ปี 2563 พบผู้ป่วย 1,603 ราย เสียชีวิต 21 ราย),โรคมือ เท้า ปาก ) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ในพื้นที่จะต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน ในการวางแผนป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ซึ่งประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพของพื้นที่เอง จึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายในชุมชนในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อ ในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ ได้ตระหนักถึงปัญหาโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหรือผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังโรคติดต่อ พร้อมทั้ง เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน

 

2 ๒. เพื่อให้เกิดแกนนำเครือข่ายชุมชน ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

 

3 ๓. เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญ สามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการฯ ๒.จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชนปี ๒๕๖๖ เสนอของบประมาณ ๓.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ เจ้าหน้าที่ และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน
๔.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. และแกนนำครอบครัว ในการดูแลป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชม ได้แก่ -บทบาทแกนนำชุมชน ในการเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชน - การเฝ้าระวังและการป้องกัน โรคไข้เลือดออกในชุมชน -โรคฉี่หนู(เลปโตสไปโรซีส)ภัยร้ายที่มากับหน้าฝน   -การป้องกันโรค มือเท้า ปาก ของเด็กในชุมชน -การป้องกันตนเองและการปฏิบัติตามมาตรการชุมชน กรณีโรคโคโรน่าไวรัส ๒๐๑๙ -การเฝ้าระวังและการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) -การเฝ้าระวังและการป้องกันโรคอุจจาระร่วง   ๕. ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ ๒.มีเครือข่ายชุมชน ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ช่วยเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดต่อต่อในชุมชนได้ ๓.ประชาชนเห็นความสำคัญ สามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2566 10:23 น.