กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L1485-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 14
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 12,090.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ถินนา ตำแหน่ง ประธาน อสม.หมู่ที่ 14 บ้านสันติราษฎร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ เป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญ และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะปัญญาอ่อน พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 3 ปี โดยในหญิงตั้งครรภ์หากขาดสารไอโอดีนจะส่งผลต่อสมองของทารกในครรภ์ เพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมอง ทารกที่อยู่ในครรภ์ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มขนาดเซลล์สมองและช่วยสร้างโครงข่ายประสาทที่ต่อเชื่อมถึงกัน สร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้เกิดความด้อยของสมองในทารกและมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง อาจทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือพิการตั้งแต่กำเนิด เด็กที่เกิดจากมารดาที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้สมองและร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ร่างกายแคระแกร็น รูปร่างเตี้ย และมีส่วนทำให้ความฉลาดทางสติปัญญาของเด็กตํ่าลง หรือมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยตัวเองไม่ได้กลายเป็นเด็กเอ๋อ อันจะบั่นทอนคุณภาพชีวิตโดยรวม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่วนในเด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้เรียนรู้ช้า เฉื่อยชา เป็นคอพอก ส่วนในวัยผู้ใหญ่หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้กลายเป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชาประสิทธิภาพการทำงานลดลง ปัจจุบันยังพบว่าประชาชนทุกภาคของประเทศยังประสบปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน ระดับความรุนแรงต่างๆ อีกจำนวนมาก ถึงแม้ว่าพื้นที่หมู่ 14 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่ที่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งภาคใต้เป็นพื้นที่ ที่มีภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนน้อยที่สุดของประเทศก็ตาม แต่ความเสี่ยงที่เกิดภาวะโรคขาดสารไอโอดีนก็ยังคงมีอยู่ ปัญหาดังกล่าวไม่อาจขจัดให้หมดไปได้ ต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันตลอดเวลา เพราะหากประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนให้เพียงพออย่างต่อเนื่อง ก็สามารถเกิดโรคขาดสารไอโอดีนได้อีก
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 14 ตำบลปะเหลียน ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของไอโอดีน ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต สติปัญญา การเรียนรู้ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชน ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันไม่ให้ ตนเอง ครอบครัวและชุมชน เป็นโรคขาดสารไอโอดีน และเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนให้เพียงพอต่อร่างกาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคขาดสารไอโอดีน

 

2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันไม่ให้เป็นโรคขาดสารไอโอดีน

 

3 3.เพื่อให้ประชาชนเลือกรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนและเลือกเกลือบริโภคในครัวเรือนอย่างถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการฯ ๒. จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชน ปี ๒๕๖๖ เสนอของบประมาณ ๓. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่สมาชิกในชมรม อสม. และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน
๔. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ   ๔.๑ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีน และการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีน ป้องกันไม่ให้เป็นโรคขาดสารไอโอดีน
๔.๒ จัดกิจกรรมตรวจเกลือบริโภคที่ใช้ในแต่ละครัวเรือน
5.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคขาดสารไอโอดีน
  2. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันไม่ให้เป็นโรคขาดสารไอโอดีน
  3. ประชาชนสามารถเลือกรับประทานอาหารและเลือกใช้เกลือบริโภคที่มีปริมาณไอโอดีนเพียงพออย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2566 14:28 น.