กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซิส (ไข้ฉี่หนู)
รหัสโครงการ 66-L1523-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 22,073.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธนบรรณ กล้าเวช
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 155 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค พบว่าสถานการณ์ของโรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคไข้ฉี่หนู ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 22 พ.ค. 2565 พบผู้ป่วย จำนวน 356 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตนอกจากนี้ กลุ่มที่พบว่าเสียชีวิตมากที่สุด คือกลุ่มอายุ 45-54 ปี (18.82%) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 55-64 ปี (16.57%) และกลุ่มอายุ 35-44 ปี (16.01%) ตามลำดับ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร และอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 ดันแรก คือ จังหวัดระนอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา
จากสภาวะการณ์ฝนตกตลอดทั้งปี ทำให้มีน้ำขังในพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่ม มีห้วยหนอง และแอ่งน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่ง โรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ โรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน โรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง จากการประกอบอาชีพเกษตร ทำสวน ที่ต้องแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีล่องน้ำ น้ำขัง เนื่องจากต้องเดินย้ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่อง อย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลือง ตาเหลืองเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน มีความห่วงใยสุขภาพ ประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการ อบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ประชาชนเรื่องโรคเลปโตสไปโรซีส และการป้องกันตนเอง 2. เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีส 3. เพื่อให้ประชาชนทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมรอบบ้านไม่เป็นแหล่งโรค
  1. ร้อยละ 90 ของประชาชน ได้รับความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีส และการป้องกันตนเอง
  2. ร้อยละ 90 ของประชากรไม่ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส
  3. ร้อยละ 90 ของบริเวณบ้านได้รับปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมรอบบ้านไม่เป็นแหล่งโรค
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 255 22,073.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่๑ อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคแลปโตสไปโรซีส แก่ประชาชน 100 16,948.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ ๒ สำรวจการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและชุมชน ติดตามผล บ้านกลุ่มเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้านไม่ให้เป็นแหล่งโรค เดือนละครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน 55 4,125.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 3 ส่งมอบเกียรติบัตรให้กับบ้านที่เข้าร่วมโครงการ 100 1,000.00 -

3.1 ระยะเตรียมการ 1. รวบรวมสถานการณ์โรคและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส 2. วางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และกำหนดรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ 3. จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร   3.2 ระยะดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสแก่ประชาชน จำนวน 100 คน
        ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1. ทำแบบประเมินทดสอบความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีส การป้องกัน และการสังเกตอาการของโรค    ก่อนการอบรม 2. การอบรมรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสโดยวิทยากรภายนอกให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนหมู่ที่ 1,2 และ 7 จำนวน 100 คน
3. ทำแบบประเมินทดสอบความรู้ในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส การป้องกัน และการสังเกตอาการของโรคหลังการอบรม 4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลความรู้ที่ได้รับก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส กิจกรรมที่ 2 สำรวจการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านและชุมชน
อสม.ร่วมกับเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านเขาเพดาน ลงสำรวจและติดตามและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบบ้านของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 หลังคาเรือน โดยให้กลุ่มเป้าหมายจัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้านไม่ให้เป็นแหล่งโรค  โดยลงสำรวจและติดตามเดือนละหนึ่งครั้งเป็นเวลา 3 เดือน กิจกรรมที่ 3 ส่งมอบเกียรติบัตรให้กับบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
การได้รับเกียรติบัตรจะได้รับเกียรติบัตรทุกบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน    ตามที่ได้รับการติดตามเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 หลังคาเรือน 1. สรุปและรายงานผลดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส และสามารถสังเกตอาการของโรค และได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซีส

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2566 09:43 น.