กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L4155-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮามีด๊ะ ละสุสามา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคุกคามชีวิตคือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ให้มีการตื่นตัวในการร่วมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือน ดังนั้นการสร้างกระแสการตื่นตัวให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก จะช่วยทำให้ควบคุมและป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตำบลกาลูปัง ยังเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยของประชากรแสนคน ในปี 2563 – 2565 เท่ากับ 214.90 ,214.90 ,214.90 ต่อประชากรแสนคน ในปี2563 พบผู้ป่วย 1 ราย ปี 2564 พบผู้ป่วย 1 ราย ในปี 2565 พบผู้ป่วย 1 ราย และในปี 2566 พบผู้ป่วยตอนนี้ 5 ราย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
ดังนั้นทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน และให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงได้ทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความเข้าใจและพึงเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในครอบครัวและชุมชน 2. เพื่อสร้างจิตสำนึกการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ่านตนเองและชุมชน 3. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณบ้านให้ปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4. เพื่อส่งเสริมให้อสม.มีบทบาทหน้าที่ในการรณรงค์ ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง โรคและการส่งเสริสุขภาพให้ห่างไกลจากอันตรายของโรคไข้เลือดออก

1.ทุกคนรู้ตระหนักการเกิดโรคไข้เลือดออกในครอบครัวและในชุมชนของตนเอง   2.ทุกบ้านมีกิจกรรม Big Cleaning ในทุกๆวันศุกร์ในบ้ายตนเองและในชุมชน   3.ทุกบ้านเป็นบ้านที่สะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย มีการกำจัดขยะได้ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 0 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชาวบ้านมีความรู้เกิดพฤติกรรมการเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในบ้านและชุมชนมากขึ้น
  2. อสม.ที่รับผิดชอบละแวกบ้านร่วมทำกิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านของชุมชนตนเองเป็นประจำ
  3. บ้านทุกบ้านมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่สะอาดไม่เป็นแหล่งเพาพพันธ์ยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 00:00 น.